เห็นอาการบาดเจ็บที่เข่าของนักกีฬาแบดมินตันแต่ละคน มักจะเห็นกันเป็นประจำ ตั้งแต่มือสมัครเล่น ไปจนถึงนักแบดมินตันระดับโลก แต่ที่สังเกตเห็นชัดเจนใน Tokyo Olymic 2020 คือ “ซายากะ ฮิโรตะ” นักแบดมินตันชาวญี่ปุ่น หญิงคู่มือ 1 ของโลกในปัจจุบัน
.
ซายากะ ฮิโรตะ เป็นอะไรกันนะ ?
เห็นในสนามตอน ฮิโรตะเล่น ก็แอบเสียว ๆ ในบางลูก เพราะดูแล้วอาการบาดเจ็บไม่น่าจะเป็นน้อย ๆ แต่ทำไมเค้ายังสามารถลงไปเล่นได้ดีขนาดนี้
.
อาการบาดเจ็บนี้ คิดว่า เป็นอาการบาดเจ็บ ACL Injury หรือ อาการบาดเจ็บหรือฉีกขาดของเอ็นไขว้หน้าของข้อเข่า (Anterior Cruciate Ligament) ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นเอ็นหลักในหัวเข่า โดยมักเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนทิศทาง กระโดด หรือหยุดอย่างกะทันหัน
.
เกิดขึ้นได้ในกีฬาแบดมินตัน บาสเก็ตบอล หรือฟุตบอล สังเกตได้เบื้องต้นจากเสียงในข้อเข่า และอาการปวดบวมที่หัวเข่า
.
แบ่งได้ 3 ระยะด้วยกัน
.
ระยะที่ 1 : เป็นระยะที่เส้นเอ็นได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย และยังไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของข้อเข่า (คาดว่า ฮิโรตะยังอยู่ใน Phase นี้)
ระยะที่ 2 : เกิดขึ้นเมื่อเส้นเอ็นได้รับบาดเจ็บมากขึ้นและทำให้ข้อเข่าเริ่มหลวม เนื่องจากอาจเป็นผลมาจากเส้นเอ็นบางส่วนฉีกขาด
ระยะที่ 3 : เป็นระยะที่ข้อเข่าไม่มั่นคงเนื่องจากเส้นเอ็นฉีกขาดออกจากกันโดยสมบูรณ์ (อันนี้ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนเลยค่ะ)
.
แต่เบื้องต้นหากรู้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ในระยะแรก สามารถใช้ตัวช่วยในการซัพพอร์ตได้ก่อน เช่น อาการของฮิโรตะ เป็นต้น
.
ซัพพอร์ตที่ฮิโรตะใส่ มีหลักการซัพพอร์ตอย่างไร?
จากความรู้ที่ได้ปรึกษากับนักกายภาพ (หมอประชุม อ่ำหลิม) เพื่อนำมาเป็นวิทยาทานให้กับเพื่อน ๆ นักแบดทุกคน
.
เส้นสีเขียวจำทำหน้าที่ FIX เพื่อไม่ให้กระดูกแยกออกจากกัน และเอ็นไขว้ก็ไม่ถูกยึดใหบาดเจ็บซ้ำ
และส่วนที่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมเส้นสีเขียวที่เข่าด้านข้าง จะช่วยปรับการตั้งค่าการเคลื่อนไหวได้
.
ส่วนเส้นสีส้ม จะถูกจำกัดจากมุมองศาที่กำหนดไว้ เพื่อไม่ให้ส่วนที่บาดเจ็บฉีดขาดหรือกระทบมากไปกว่าเดิม
.
ชิงแชมป์โตเกียวโอลิมปิก2020 ในครั้งนี้ เราจะได้เห็นความมุ่งมั่นของนักกีฬาแต่ละชาติ ไม่ว่าจะชนะหรือแพ้ในรายการนี้ แอดมินเชื่อว่า นักกีฬาทีมชาติไทยทุกคน “คุณสุดยอดแล้ว”
.