รู้จักเอ็นแบดมินตัน BG 66 Ultimax เหมาะกับใคร ?

ขอแนะนำใครกำลังจะไปขึ้นเอ็นแร็กเก็ตแบดมินตันใหม่ ต้องลอง “เอ็นยอดฮิต Yonex BG 66 Ultimax” มือเก่าและมือใหม่มักจะรู้จักกันเอ็นนี้เป็นอย่างดี
🏸[โพสต์นี้ขออธิบายศัพท์ง่าย ๆ นะคะ มือใหม่หรือคนทั่วไปที่เริ่มเล่นแบดมินตันก็เข้าใจได้]
BG 66 Ultimax เหมาะกับใคร ?
ด้วยคุณสมบัติที่เป็นเอ็นเส้นขนาดกลาง ไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป ด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.65mm BG 66 BG 66 Ultimax จึงเป็นเอ็นที่เหมาะกับทั้งการบุก, การคอนโทรลลูก รวมถึงความกระด้างของเอ็นที่ไม่มาก เนื่องจาก BG 66 Ultrimax มีความยืดหยุ่นสูง
BG 66 Ultimax ข้อเสียก็มีอยู่บ้าง 
สำหรับผู้เล่นที่มักจะชอบบุกมาก ๆ เน้นความรุนแรง ก็อาจจะเบื่อกับเอ็นที่ขาดง่ายไปหน่อย
แต่ไม่ต้องตกใจนะคะ ว่าคุณจะตีจนมันขาดได้ง่าย ๆ เพราะว่า BG 66 Ultimax ถ้าไม่ได้ปะทะรุนแรงระดับมือทีมชาติแล้ว ความคงทนก็อยู่ได้มากกว่า 2-3 เดือนเลย ขึ้นอยู่กับ ความถี่ในการใช้งานด้วย
สิ่งที่มือใหม่มักจะชอบ คืออะไรในเอ็น BG 66 Ultimax ตัวนี้
“เสียงดังดีจ้า” ใครที่ชอบฟังเสียงเพราะ ๆ ตอนตบก็ต้องแนะนำเอ็นตัวนี้เช่นกันเลย.. แต่พูดแบบนี้แล้ว พอไปลองตีแล้วเสียงไม่ดัง … อันนี้ก็ขึ้นกับกำลังข้อมือของแต่ละคนด้วยน้า
เอ็น BG 66 Ultimax นี้ราคาเท่าไหร่ ?
เอ็น BG 66 Ultimax ราคาต่อเส้นในการขึ้นเอ็นจะอยู่ประมาณ 280 บาท บวกลบ แล้วแต่บางร้านจ้า หลายร้านมักจะไม่มีค่าขึ้นเอ็นเพิ่มเติม หากซื้อเอ็นจากที่ร้านนั้น ๆ จ้า

นักแบดมินตันระดับโลก มีใครบ้างที่ใช้ เอ็น BG 66 Ultimax

TSE YING SUET : HONG KONG CHINA

Kong Hee-yong : KOREA

KIM SO YEONG : KOREA

HUANG DONG PING :  CHINA
แนะนำร้านขายอุปกรณ์แบดมินตัน ที่นี่มีเอ็นหลากหลายชนิด และซื้อเอ็นที่นี้ขึ้นเอ็นแบดมินตันฟรีเลยค่ะ

สนามแบดมินตันสามารถติดต่อขึ้นระบบ บนเว็บไซต์จองนาว www.jongnow.com ได้แล้ววันนี้ Tel : 0869851307

ไม้แบดมินตัน Yonex Astrox 88d Pro อาวุธวิว-กุลวุฒิ วิทิตศานต์

เปิดอาวุธคู่กายของวิว-กุลวุฒิ วิทิตศานต์กับไม้แบดคู่ใจ Yonex Astrox 88d Pro ในหลาย ๆ ศึกการแข่งขันแบดมินตันระดับโลกของวิว-กุลวุฒิ วิทิตศานต์ และล่าสุดในศึกการแข่งขันแบดมินตันชิงแชมป์โลก รายการ โททาลเอ็นเนอร์ยี บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ แชมเปี้ยนชิพ 2022 ทำให้นักแบดมือใหม่หลายคนถึงกับอยากส่องสเปคกันเลยทีเดียว และหลายคนก็อยากจะลองหาซื้อมาเป็นอาวุธคู่กายกันบ้าง

Yonex Astrox 88d Pro

ไม้แบด Yonex Astrox 88d Pro จะเหมาะกับผู้เล่นที่เน้นเกมบุกโดยเฉพาะ เป็นรุ่นที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี New Isometric Head Shape ที่ทำให้หัวไม้สามารถเพิ่มจุดกระทบได้มากขึ้น คือ การขยายเฟรมให้กว้างและแข็งแรงมากขึ้น ทำให้ผู้เล่นนั้นสามารถบุก หรือตบได้มีพลังมาก แม่นยำ และต่อเนื่องมากขึ้น

Yonex Astrox 88d Pro Specification  (สเปคไม้ของ Yonex Astrox 88d Pro)
Weight : 4U

Balance : Head Heavy หัวหนัก เหมาะกับผู้เล่นที่ชอบการบุก ตบ เพราะน้ำหนักของหัวไม้จะช่วยออกแรงส่งให้ลูกหนัก และปักมากยิ่งขึ้น

Stiffness : Stiff ก้านแข็ง ข้อดีของไม้ก้านแข็งคือ ให้ความแม่นยำในการออกลูกไม่ว่าจะเป็นการบุกหรือการรับ แต่หากเป็นผู้เล่นมือใหม่จะรู้สึกว่าตียาก เนื่องจากตัวก้านจะมีความยืดหยุ่นน้อยกว่าไม้ก้านอ่อน ฉะนั้นหากเป็นมือใหม่เลย อาจจะลองจากไม้ก้านอ่อน และค่อย ๆ ปรับขึ้นเป็นไม้ก้านแข็ง

String tension LBS : <28 Ibs คือ สามารถขึ้นเอ็นรับแรงตึงได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 28 ปอนด์ โดยเป็นสเปคที่แนะนำสำหรับไม้ตัวนี้

 

 

 

นอกจากจะเห็น วิว-กุลวุฒิ วิทิตศานต์ ใช้ Yonex Astrox 88d PRO แล้ว ก็ยังมีนักแบดมินตันคนอื่น ๆ เช่น Yiki FUKUSHIMA นักแบดมินตันหญิงคู่มือ 2 ของโลกจากประเทศญี่ปุ่น (เคยขึ้นสูงที่สุดคือ มือ1 ของโลก) และ

ทาง Jongnow ได้รีวิวไม้แบดมินตันเทียบรุ่นสำหรับไม้ระดับโปรสำหรับ ไม้ทั้ง 2 ประเภท
1. ไม้หัวเบา – เน้นความว่องไวของเกมบุกหน้าเน็ตกับรุ่น Yonex Nanoflare 700

2. ไม้ Even Balance – เน้นทั้งเกมบุกและเกมรับ มือใหม่จะรู้สึกตีเข้ามือได้ง่ายกว่าประเภทอื่น ๆ ในที่นี้เลยรีวิวเป็น Yonex Duora 10 LT

3. ไม้หัวหนัก – เน้นการบุกที่มีพลังจากท้ายคอร์ด แนะนำเป็นตัว Yonex Astrox 88d PRO

แม้ได้รองแชมป์แต่ได้ใจคนดูทั้งสนามกับ วิว กุลวุฒิ ในรายการ BWF World Championships 2022 ครั้งแรกในชีวิต

ก่อนหน้านี้วิว กุลวุฒิ ได้เคยเล่นในรายการ World Junior Championships โดยทำผลงานดีมาอย่างต่อเนื่องด้วยการคว้าแชมป์ World Junior Championships 3 สมัยซ้อน แต่รายการ BWF World Championships นี้แม้จะได้อันดับ 2 ครองใจผู้ชมทั้งฮอลล์ วิว กุลวุฒิ วิทิตศานต์


แชมป์ World Junior Championships 3 สมัยซ้อน

รายการ โททาลเอ็นเนอร์ยี บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ แชมเปียนชิพ 2022 หรือแบดมินตันชิงแชมป์โลก 2022 ณ โตเกียว เมโทรโพลิตัน ยิมเนเซียม กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น รอบชิงชนะเลิศ “วิว” กุลวุฒิ วิทิตศานต์ มือ 17 ของโลกชาวไทย พบกับ วิคเตอร์ อเซลเซน มือ 1 ของโลกจากเดนมาร์ก

จะโค่นแชมป์ Victor Axelsen ใน BWF World Championships ไม่ใช่เรื่องง่ายขอเล่ากับใครที่พลาดชมแมตซ์สำคัญกันค่ะ

แมตซ์นี้ Victor Axelsen ชนะ วิว-กุลวุฒิด้วยคะแนน 21-5, 21-16

เกมแรก 21-5 เกิดอะไรขึ้นในเกมนี้ Jongnow มาเล่าให้ฟังกันค่ะ

เกมส์แรก ในช่วงเริ่มเกมส์มาในช่วง 5 แต้มแรกเล่นกันค่อนข้างสูสีเลยแต้มเกาะกันมา เเต่หลังจากนั้นวิวก็มีมีลูกตีเสียเองเพิ่มขึ้นเซฟกระชากออกบ้างตัดติดบ้าง แน่นอนว่าเสียเองเพราะเราต้องการบีบคู่ต่อสู้อย่างวิกเตอร์ให้อยู่ นอกจากช่วงนี้เรียกว่าเป็นขาขึ้นของวิกเตอร์แล้ว พละกำลัง และสภาพจิตใจของวิกเตอร์นั้นมาเกิน 100


เกมแรกของวิว-กุลวุฒิ เมื่อพบกับวิกเตอร์ ในรอบชิงชนะเลิศนี้ บางลูกที่เราน่าจะได้แต่ก็ไม่ได้คะเเนนเพราะความเหนียวแน่นของวิกเตอร์ แต่เกมส์ก็มีการแรลลี่กันสนุกแม้สุดท้ายจะเป็นวิกเตอร์ได้แต้มอยู่ฝั่งเดียวก็ตาม

แต่เมื่อขึ้นเกมที่ 2 เริ่มตั้งแต่ต้นเกมถือว่าแต้มขี้กันมาก ๆ เริ่มผลัดกันได้ ผลัดกันเสีย จนแต้มเริ่มหากขึ้นหลังพักครึ่งเกมแรก โดยเราพยายามที่จะเป็นฝ่ายบุกมากขึ้น แต่ด้วยความเหนียว รูปร่างสูงยาว และความไวของวิกเตอร์ Victor Axelsen ก็ยากที่จะได้แต่ละแต้มจากเค้าเช่นเดียวกัน
ยิ่งในช่วงที่เราได้เป็นฝั่งบุกแยปหน้าเน็ตได้ แต่วิกเตอร์ก็กลับรีเทิร์นกลับมาได้อย่างน่าเหลือเชื่อ

สุดท้ายวิกเตอร์ได้ขึ้นแมตซ์พ้อย (Match Point) ก่อน 20-16 แต่วิวก็ยังสู้ไม่ยอมให้วิกเตอร์ได้ปิดเกมไปง่าย ๆ สุดท้ายต้องยอมรับความแน่นอน และเหนียวแน่นของวิกเตอร์ ทำให้ฝั่งน้อง วิว-กุลวุฒิ ไม่สามารถไปต่อได้ในเกมที่ 3 จบแต้มไปด้วย 21-16 แต่นับว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวที่เราได้เห็นแววอันเฉิดฉายของหนุ่มน้อยคนนี้

ถือว่าเป็นแมตซ์ชายเดี่ยวในรายการ BWF World Championship คุณภาพจริง ๆ สำหรับวิว กุลวุฒิ วิทิตศานต์ และ Victor Axelsen เราได้เห็นพัฒนาการมากมาย ความมั่นใจ ความแข็งแรง อาวุธที่หลากหลายของวิว กุลวุฒิ วิทิตศาน คลื่นลูกใหม่ในวงการแบดมินตันไทย และพวกเราส่งแรงใจเชียร์ในทุกแมตซ์การแข่งขัน หวังว่าในอนาคตนี้ เราจะได้เห็นชายเดี่ยวมือ 1 โลก ที่ชื่อว่า วิว กุลวุฒิ วิทิตศานต์ กันอย่างแน่นอน

ชมการแข่งขันย้อนหลัง

ขอขอบคุณภาพ และคลิปการแข่งขันจาก BWF

เทคนิคเปิดเกมเสิร์ฟ แยป หยอด วาง ผลัก

เปิดเกมเสิร์ฟให้ได้เปรียบก็มีชัยไปกว่าครึ่งด้วยเทคนิค แยป หยอด วาง ผลัก 

การจัดความสำคัญในการเปิดลูกเสิร์ฟ 4 เทคนิคสำคัญ และควรเริ่มเปิดจากความสำคัญจาก 1 ไปข้อที่ 4 แล้วจะทำให้คุณตีแบดมินตันได้เปรียบในเกมได้มากขึ้น
1. เริ่มเปิดการจากแยป
การแยปในความหมายคือ เมื่อฝั่งตรงข้ามเปิดเสิร์ฟมาลูกสูงโด่ง สิ่งแรกที่เราควรจะทำคือ ทิ่มลูกหรือแยปลูกให้มีความเร็ว วิถีพุ่งลงพื้นระยะสั้น ๆ ตีหน้าไม้สั้น ๆ เพราะหากถ้าเปิดแขนด้วยองศาที่กว้างเกินไป จะทำให้ตีลูกหน้าเน็ตไม่ทัน และเสี่ยงที่ลูกจะออก

การเปิดด้วยการแยป นอกจากจะเป็นการบีบให้ฝั่งตรงข้ามต้องตียากขึ้นในการแก้ไข แถมอาจจะต้องแก้ไขงัดลูกมาให้เราได้ทำการบุกต่ออีกด้วย

และเมื่อแยปหน้าเน็ตแล้ว คนหน้าต้องทำหน้าที่เดินเกมประกบต่อเพื่อทำคะแนนให้ได้

2. ลูกหยอด เปิดเกมแบดมินตัน

ลูกหยอดในกีฬาแบดมินตัน เป็นลูกที่เราจะบีบให้ฝั่งตรงข้ามงัดหรือยกลูกมาให้เราได้เป็นฝ่ายบุก

แต่การที่เราจะหยอดให้ได้ดี ลูกมีคุณภาพที่ดี ไม่เสียเองนั้นก็ต้องเกิดการฝึกฝนทักษะการหยอดหน้าเน็ต หยอดหน้าเน็ต หยอดปาดด้านโฟร์แฮนด์ Forehand หรือแบ็กแฮนด์ Backhand

 

คลิปเทคนิคการเลี้ยวโฟร์แฮนด์โดย แมน บุญศักดิ์ พลสนะ อดีตนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย และอดีตมือวางอันดับ 4 ของโลก

3. ลูกวาง สำหรับเปิดเกมแบดมินตัน

ลูกวางในกีฬาแบดมินตัน ตำแหน่งของลูกคือ จะอยู่บริเวณกลางคอร์ด เลยคนมือหน้าแต่ไม่ถึงมือหลังของผู้เล่นแบดมินตัน จะทำให้ฝั่งตรงข้ามพะวงกันเองว่าใครจะเป็นคนตีลูกนี้ ผลที่ตามมาก็คือ จะเป็นการบีบให้ฝั่งตรงข้ามต้องยกหรืองัดลูกขึ้นมาให้เราทำเกมเช่นกัน แต่การทำลูกก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าคุณภาพลูกวางของเราจะมีประสิทธิภาพมากแค่ไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการฝึกซ้อมด้วยเช่นกัน

4.  ลูกผลัก สำหรับเปิดเกมแบดมินตัน

เป็นลูกสุดท้ายที่จะแนะนำให้เลือกใช้ ในการเปิดเกมแต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับในแต่ละสถานการณ์ ว่าการเสิร์ฟของคู่ต่อสู้นั่น ส่งลูกมาแบบไหน ซึ่งหากเราไม่สามารถทำได้ตั้งแต่ข้อที่ 1-3 แล้ว ให้ใช้วิธีการผลักหรือแทงลูกไปข้างหลังคอร์ด ในระดับขนานกับตาข่ายแบดมินตันหรือเน็ตด้วยความเร็วของลูก ก็จะทำให้ฝั่งตรงข้ามเสียจังหวะ หรือทำลายจังหวะฝั่งตรงข้ามได้เช่นกัน

แนะนำวิธีการเล่นเกมคู่อย่างไรให้ได้เปรียบ ยกตัวอย่างเกมของ Shida/ Matsuyama VS Fukushima/ Hirota

แต่บางคนมักจะเลือก “งัดลูก” ตั้งแต่แรกในการเปิดเกมเลย ถามว่าทำได้หรือไม่ ?

คำตอบกก็คือ สามารถเปิดเกมได้ แต่เป็นเกมที่เราไม่ได้บีบให้คู่ต่อสู้กลัว หรือทำลายจังหวะเลย เพราะแบดมินตันก็คือเกม หากเราได้เป็นฝ่ายได้เปรียบก่อน ก็ย่อมที่จะทำแต้มได้ง่ายกว่า

อาการรองช้ำ ปวดหลังด้านล่างอาจจะมาจากแผ่นรองรองเท้าไม่เหมาะสม (Insole)

“รองเท้าคู่เก่า กับ แผ่นรองรองเท้า (Insole) ใหม่ ลองมาแล้ว 1 อาทิตย์เลยขอมารีวิวให้ฟังกัน”

หลายคนมักมีปัญหาปวดหลัง ปวดขาเมื่อต้องเดินเยอะ ๆ หรือเล่นกีฬาหนัก ๆ พอพยายามหารองเท้ารุ่นท๊อปๆ บางทีก็ช่วยได้บ้างแต่ก็แอบมีอาการเล็กน้อยหลังเดิน วิ่ง ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมเยอะ ๆ เลยมารู้ว่าแผ่นรองรองเท้า (Insole) นั้นมีผลอย่างมากกับสุภาพเท้าของเรา

วันนี้แหวนเลยลองมาตัด insole ของแบรนด์ FIXIFOOT เพื่อนำไปใส่กับรองเท้าแบดที่เราใช้ประจำค่ะ จริง ๆ มันย้ายไปใส่กับรองเท้าเดินเล่นของเราได้ทั้งหมดเลย แม้กระทั่งรองเท้าแตะของ Crocs 

ปัญหาปวดหลังล่าง (Lower Back) หลังตีแบดหรือยืนและเดินนานๆ เกิดจากสรีระเท้าของเราที่เป็นคนอุ้งเท้าสูงนั่นเอง

ประเภทของฝ่าเท้ามีด้วยกัน 2 ประเภท เราควรเลือก Insole แบบไหนให้เหมาะกับเรา
 1.
ฝ่าเท้าแบน หรือไม่มีอุ้งเท้าเลย (Flat Arch)
ลักษณะเท้าแบบนี้คือคนที่ไม่มีส่วนเว้าที่อุ้งเท้าเลยค่ะ  เท้าลักษณะนี้ก็ไม่สามารถใส่รองเท้าที่มีพื้นรองเท้าที่มีแผ่นรองเสริมอุ้งเท้าสูงๆ ได้ เพราะจะทำให้เมื่อยล้า แทนที่จะทำให้รู้สึกใส่แล้วสบายขึ้น

อาการเท้าแบน ถ้าไม่แก้ก่อนปัญหาที่จะตามมาก็คือ
หากออกกำลังกายหนัก ๆ หรือเดินวิ่งนาน ๆ อาจจะเกิดอาการบาดเจ็บได้ที่ อาการบาดเจ็บหน้าแข้งด้านใน (Shin Splints) หรือมีอาการเจ็บที่อุ้งเท้าส้นเท้า และมีอาการปวดเข่าด้านหน้า (Patellotermoral Pain Syndrome )ได้เช่นกัน ฉะนั้นควรเลือกแผ่นรองรองเท้า (Insole)ให้เหมาะสมกับสรีระฝ่าเท้าของเรา

  1. อุ้งฝ่าเท้าสูง (High Arch) ใครที่ลักษณะฝ่าเท้าแบบนี้ คือ มีส่วนเว้าค่อนข้างมาก โดนแต่ละคนนั้นก็จะมีส่วนเว้าไม่เท้ากัน ถ้าเว้ามากก็จะเรียกว่า อุ้งเท้าสูงมาก (Very High Arch)ผลที่เกิดขึ้นหากเลือกแผ่นรองรองเท้า (Insole) ที่ไม่เหมาะสม เวลาที่เราเดินนาน ๆ ยืนนานๆ วิ่งหรือตีแบดมินตัน จะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บของหลังช่วงล่าง หรือกล้ามเนื้อของเอ็นร้อยหวายได้ตามมา ถ้าใครที่เริ่มมีอาการเบื้องต้นไม่แน่ใจ อาจจะลองไปตามบูธต่าง ๆ ที่มีให้วัดจำพวกแผ่นรองรองเท้า (Insole)ที่วัดตัดเฉพาะบุคคล เพื่อให้เราได้รู้ว่า ปัญหาที่จริงของเราเกิดจากอะไรค่ะ
    .
  2. และสุดท้ายเลยคือ ฝ่าเท้าปกติ คือ คนที่มีฝ้าเท้าเว้านิดหน่อย เวลาเลือกหารองเท้าก็จะง่ายหน่อยค่ะ ไม่จำเป็นต้องหาตัว support อะไรมาก เพียงแต่เวลาเลือกรองเท้าให้เน้นตัวช่วย support จำพวก Midsole ต่าง ๆ เวลากันกระแทกเมื่อต้องกระโดด หรือเดินนาน ๆ จะช่วยเซฟหัวเข่า หรือข้อต่อได้ใช้นานๆ แต่การหาแผ่นรองรองเท้า (Insole) ที่ดีในการทำกิจกรรมระหว่างวันที่มีการซัพพอร์ตหัวเข่าและข้อต่อได้ดีก็จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ได้ทั้งรองเท้าดีและแผ่นรองรองเท้า (Insole) ที่รองรับแรงกระแทกได้

สำหรับแหวนเองเล่าให้ฟังทีแรกไม่เคยคิดว่าตัวเองเป็นคนอุ้งเท้าสูงเลย แต่พอได้ไป Scan เท้าด้วยเครื่องวัดแสงอินพาเรดของทาง FIXIFOOT เพื่อนำมาตัดแผ่นรองรองเท้า (Insole) แล้วก็เลยมารู้จริง ๆ เครื่องมันแม่นมาก ๆ รู้อาการของเรายิ่งกว่าหมอดูอีก 555

พอได้มาใช้งานจริง ๆ เบื้องต้นแนะนำให้ใช้แผ่นรองรองเท้า (Insole) ใหม่ สลับกันตัวเก่าก่อน เนื่องจากช่วงแรกกล้ามเนื้อส่วนอุ้งเท้าอาจจะยังไม่เคยได้ใช้งานอาจจะทำให้เมื่อยล้าได้ แนะนำให้ใส่ insole ใหม่ สลับกับแผ่นรองรองเท้า (Insole) คู่เก่า อย่างละ 30 นาที
ทำแบบนี้ไป 1-2 อาทิตย์ และค่อย ๆ ปรับมาใช้แผ่นรองรองเท้า (Insole) ตัวใหม่ให้ได้นานที่สุด เพราะมิฉะนั้น หากเราใส่เฉพาะตอนเล่นกีฬา และตอนปกติไม่ใส่ ก็อาจจะทำให้สรีระของเท้ากลับมาเป็นแบบเดิมได้
.
แนะนำหากใครได้ใช้พวกแผ่นรองรองเท้า (Insole) ที่ตัดเฉพาะบุคคล ไม่ควรนำไปซักและตากแดดนะคะ เพราะจะทำให้แผ่นรองรองเท้า (Insole) นั้นเสียทรงได้ เพราะตัวนี้จะถูกขึ้นรูปด้วยความร้อน และที่สำคัญในทุกๆ 3-4 เดือนควรนำกลับไปขึ้นรูปใหม่ เพราะจะได้ปรับให้แผ่นรองรองเท้า (Insole) นั้นเหมาะกับอุ้งเท้าของเรา

ตีแบดไป 1 ชม. ร่างกายจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง

แบดมินตันเป็นกีฬาที่ใช้พลังงานเยอะมาก ใน 1 ชั่วโมง ถ้าคุณสามารถเคลื่อนไหวร่างกายจนอัตรา Heart rate ไต่จากระดับ 2-3 ขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง ใน 1 ชั่วโมงสามารถเผาผลาญแคลอรี่ได้มากถึง 500 แคลอรี่
ตีแบด 1 ชั่วโมงจะได้อะไรบ้าง หากทำอย่างต่อเนื่อง
1. หัวใจแข็งแรงขึ้น
แบดมินตันเป็นหนึ่งในการออกกำลังกายที่เป็นทั้งชนิด “แอโรบิก” และ แอนแอโรบิก
“แอโรบิก” (Aerobic) การออกกำลังกายแบบนี้
ร่างกายเราต้องการออกซิเจนมากที่สุด เพื่อที่ร่างกายแปลงพลังงานที่สะสมอยู่นั้นมาใช้งาน
   1.1 ผลของการออกกำลังกายแบบนี้คือ ระบบหายใจจะทำงานเร็วและแรงขึ้น เพื่อนำออกซิเจนเข้าร่างกาย
   1.2 หัวใจเต้นเร็วขึ้น เพื่อเร่งส่งออกซิเจนจากปอดไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย
   1.3 หลอดเลือดขยายตัวมากขึ้น เพื่อการลำเลียงเลือดให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ง่ายขึ้น
ส่วน “แอนแอโรบิก” (Anaerobic) เป็นการออกกำลังกายที่มีการใช้พลังงานโดยตรงที่ไม่อาศัยออกซิเจน แต่จะใช้แหล้งพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตเป็นหลักที่จะทำการเปลี่ยนเป็นพลังงาน
ทำไมแบดมินตันถึงเป็นการออกกำลังกายแบบ แอนแอโรบิกด้วย
   1.4 เป็นการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และสามารถออกแรงได้มากในระยะเวลาสั้น ๆ ได้ดี เช่น จังหวะการตบลูกในเกมที่มีจังหวะการบุก เป็นต้น
   1.5 อัตราการเต้นของหัวใจจะอยู่ประมาณ 80-92 % ของ อัตราการเต้นหัวใจสูงสุด (Maximum HR) ซึ่งในการเล่นบางครั้ง HR ของเรามีขึ้นลง ขึ้นกับเกมการแข่งขันที่สูสี และความต่อเนื่องของเกมการเล่นด้วย
โดยระบบพลังงานที่ใช้การแข่งขันแบดมินตัน การใช้พลังงานจะเป็นอัตราส่วน 65:35 คือ ความสามารถในการใช้พลังงานแบบแอโรบิก 65 ส่วน
และความสามารถในการใช้พลังงานแบบแอนแอโรบิกอีก 35 ส่วน
2. กล้ามเนื้อทั้งมัดเล็กและมัดใหญ่ได้ทำงาน
อีกหนึ่งชนิดกีฬาที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวของร่างกายทุกส่วนทั้งแขน, ขา และการเคลื่อนที่บนสนามแบด
หลายคนที่มีปัญหาออฟฟิศซินโดรมในชีวิตประจำวันต้องทำงานหน้าคอมตลอดเวลา
การออกกำลังกายด้วยกีฬาแบดมินตัน มีส่วนช่วยให้ห่างหายจากโรคออฟฟิศซินโดรมได้ดีเลยทีเดียว
3. สมองได้ฝึกใช้ความคิด
กีฬาแบดมินตันไม่ใช่เพียงได้แต่กำลังกาย แต่ยังเป็นกีฬาที่ฝึกความคิด, วางแผนการในเกมในการวางลูกอ่านเกมเพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้
และความไวของการตีลูก ทำให้สมองเราได้คิดวางแผนตลอดเวลาในเสี้ยววินาที
ด้วย 3 เรื่องนี้จึงเป็นอีกหนึ่งชนิดกีฬาที่ชาวออฟฟิศต่างชักชวนกันไปตีแบด สร้างสุขภาพที่แข็งแรง และถามยังช่วยสร้างมิตรภาพและเสียงหัวเราะได้เป็นอย่างดีอีกด้วย รู้แบบนี้แล้วชวนเพื่อนมาตีแบดมินตันกัน ด้วยการจองสนามแบดมินตันออนไลน์ง่าย ๆ ที่เว็บไซต์ www.jongnow.com เร็วๆ นี้ นะคะ
อ้างอิงข้อมูล :
1. โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
2. วิทยานิพนธ์ ผลของการฝึกเสริมด้วยการฝึกพลังความอดทนที่มีต่อความอดทนของกล้ามเนื้อขา และสมรรถภาพอนากาศนิยมของนักกีฬาแบดมินตันชาย สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รองช้ำ ไม่เป็นไม่รู้ สาเหตุจากรองเท้าและ Insole อุปกรณ์สำคัญที่ทุกคนมองข้าม

 

นักแบดหลายๆ คนทั้งมือใหม่และมือประจำ อาจจะเคยมีอาการ “ปวดส้นเท้า” หลังตื่นนอนเมื่อลงน้ำหนัก โดยเฉพาะใครที่เพิ่งตีแบดหนักๆ มาเมื่อคืน อาจจะพบกับความเจ็บ เหมือนเข็มทิ่มตอนเดิน แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อได้เดิน หรือ วิ่งไประยะหนึ่ง

อาการเหล่านี้เกิดจากการอักเสบบริเวณพังพืดใต้ฝ่าเท้า ซึ่งเราจะรู้จักกันว่า “โรครองช้ำ” อาการมักจะเป็นๆ หายๆ ดีขึ้นเมื่อได้ขยับ และกลับมาปวดอีกเมื่อหยุดการเคลื่อนไหว และสำหรับบางคนที่เป็นหนัก อาจจะถึงขั้นปวดตลอดเวลา

โดยทั่วไปสาเหตุของการรองช้ำเกิดจากการใช้งานที่มากเกินไป และ/หรือ นานเกินไป รวมถึงน้ำหนักตัวมาก ทำให้เท้าต้องรับแรงกระแทกที่มากขึ้น ซึ่งนอกจากเท้าแล้ว หัวเข่าจะได้รับการกระแทกที่มากขึ้นเช่นกัน แต่สำหรับนักแบดอาจมีปัจจัยเพิ่มเติมเข้ามา:

    ♦️ ฟุตเวิร์คไม่ถูกต้อง – การเคลื่อนไหวให้ถูกต้องเป็นเรื่องที่สำคัญมากในกีฬาแบดมินตัน นักกีฬาต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วไปทั้งด้านหน้า ด้านหลังและด้านข้างอยู่ตลอดเวลา การลงน้ำหนักที่ไม่ถูกต้องอาจสร้างแรงกระแทกให้จุดใดจุดหนึ่งของเท้ามากเกินไป เช่น การลงด้วยหน้าเท้าซึ่งทำให้เสี่ยงต่อข้อเท้าพลิก นอกจากนี้องศาของการวางเท้าขณะเข้าไปรับลูกหน้าควรเป็นทิศทางเดียวกับองศาของไม้เพื่อลดการบิดและการลงน้ำหนักผิดจุด

    ♦️ รองเท้าไม่เหมาะกับเท้า – ฝ่าเท้าของแต่ละคนมีรูปทรงที่ไม่เเหมือนกัน ทำให้ไม่สามารถการกระจายน้ำหนักบนฝ่าเท้าเวลาเคลื่อนไหวได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากโครงสร้างเท้าที่มีอุ้งเท้าน้อยหรือมากกว่าปกติ เช่น เท้าแบนส่งผลให้มีการลงน้ำหนักด้านในฝ่าเท้ามากกว่าปกติ เป็นสาเหตุของอาการปวดเข่าด้านใน หรือ เท้าสูงมากอาจทำให้พังผืด และกล้ามเนื้อฝ่าเท้าตึงมาก เมื่อลงน้ำหนักซ้ำๆ อาจทำให้เกิดรองช้ำได้ง่าย เป็นต้น

✅การรักษารองช้ำ
– ประคบเย็น เมื่อมีการอักเสบ และลดการใช้งานเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟู
– กายภาพบำบัด การออกกำลังกายเท้าเพื่อเพิ่มความมั่นคงของฝ่าเท้าให้การเคลื่อนไหวสมดุลมากขึ้น และการยืดกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อน่องคลายตัว และเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
– การเสริมแผ่นรองเท้าสำหรับคนที่เป็นเท้าแบน หรือเท้าสูงช่วยส่งเสริมให้เท้าอยู่แนวปกติมากขึ้นได้ และลดอาการเจ็บได้มากขึ้น
– การปรับฟุตเวิร์ค การลงน้ำหนักเท้าให้ถูกต้อง

หลายครั้งที่มักจะเกิดอาการบาดเจ็บและจึงหาวิธีแก้ไขทีหลัง
Jongnow อยากให้ลองแนะนำหารองเท้าและแผ่นรองรองเท้าดีๆ มาใส่ เพื่อช่วยซัพพอร์ตและลดความเสี่ยงอาการบาดเจ็บ ก่อนที่จะอดเล่นกีฬาที่เพื่อน ๆ รักไปอีกนานค่ะ

 

โดนจี้ท้ายคอร์ด ทำอย่างไรเมื่อเสียเปรียบในเกม

เจ็บใจไหมตีแบดมินตันกับเพื่อนเมื่อไหร่ โดนเพื่อนโยกซ้ายขวาตลอด! มาดูวิธีแก้เกมและสร้างจุดแข็งของตัวเอง เพื่อวันนึงเราจะเป็นคนกำหนดบังคับเกม (และโยกเพื่อน) และชนะได้บ้าง จริงๆ มีหลายปัจจัย แต่ขอสรุป 3 ข้อสำคัญใหญ่ๆ

1. ตีแบดมินตันต้องฝึกตีลูกเบสิคให้มีความแม่นยำ และสปีดการตีลูก

ตีแบดต้องสามารถตีลูกให้ลงตรงจุดที่ต้องการได้ เช่น 2 มุมหลัง 2 มุมหน้า กลางคอร์ท รางรถไฟ เป็นต้น นอกจากตีให้แม่นยำแล้ว ยังมีเรื่องของสปีดลูก ที่ทำให้คู่ต่อสู้ต้องเสียจังหวะ สร้างลูกได้เปรียบต่อไปได้

2. ตีแบดมินตันต้องเข้าใจรูปเกม ว่าตีอย่างไรให้ได้เปรียบ

พอเรามีลูกที่แม่นยำแล้ว สเต็ปปถัดไปคือ ต้องเข้าใจรูปเกม ว่าตีอย่างไรให้ได้เปรียบ เช่น เมื่อตีลูกตบ / ตัด/ เซฟ/ หยอด/ ดาด ไปแล้ว
จากจุดที่คู่แข่งยืน ลูกที่มีโอกาสกลับคืนมามีอะไรบ้าง ลูกเราตีไปเสียเปรียบหรือได้เปรียบ
เพื่อเตรียมตัวไปตีลูกถัดไป ถ้าเข้าใจรูปเกม ก็จะสามารถกำหนดได้ว่าลูกจะไป ซ้าย ขวา หน้า หลัง ตามที่เราต้องการ

3. ตีแบดมินตันต้องรู้คู่แข่ง

เราต้องรู้ว่า… คู่แข่งฝีมือขนาดไหน ถ้าเราตีแข็งกว่าคู่แข่ง ก็ไม่ยากเกินไปที่จะบังคับหนีมือ จากสปีดลูกที่คู่แข่งตีมาหา
แต่ตรงกันข้ามถ้าเราเจอคู่แข่งที่มือหนักกว่าเรา สปีดลูก การเคลื่อนไหวเข้าถึงที่เร็วกว่า อาจทำให้เราเสียเปรียบ กลายเป็นฝ่ายที่ต้องวิ่งซ้ายขวาแทน ถึงแม้จะเข้าใจรูปเกม

ดังนั้นวิธีการแก้ไขคือ
1. ตีแบดมินตันต้องมีการฝึกฝน ทำซ้ำ ๆ แก้ไขลูกที่อ่อน เพื่อทำให้เราตีได้อย่างใจหวัง
2. ตีเกมให้หลากหลายให้ฝึกกับคู่ประจำจะดีมาก เนื่องจากการเล่นคู่ ผู้เล่นแบดมินตันต้องมีความเข้าใจกันเป็นอย่างดี ถึงจะสามารถทำเกมบุก แก้เกมเสียเปรียบได้

เล่นเกมให้หลากหลาย เจอคู่ต่อสู้มือใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยเล่นด้วย ก็จะทำให้เราได้ฝึกฝนการแก้ไขรูปแบบเกมเวลาตีแบดมินตันด้วย
3. พัฒนาฝีมือตนเองด้วยการ เลือกตีกับมือที่สูงสี หรือ สูงกว่าอีกขั้น เพื่อให้ได้ฝึกความเร็ว และกลวิธีที่จะใช้ในการเอาชนะคู่ต่อสู้

ตบหนักไม่ตาย สุดท้ายเสียเอง

ตบเค้าแทบตาย สุดท้ายก็ไม่ชนะ เค้ารับดี หรือ เราตบแย่นะ… 😭😭😭

เชื่อว่าลูกตบ เป็นลูกโปรดของนักแบดเกือบทุกคน ไม่ว่าจะมือสมัครเล่น หรือนักกีฬา การที่ได้ออกตบแรงๆใส่คู่แข่ง มันทั้งมันส์ ทั้งสะใจ ยิ่งถ้าตบเสียงแน่นๆ แล้วด้วย ช่างน่าภาคภูมิใจจริงๆ แต่ที่เห็นกันบ่อยๆ คือ การที่มีลูกหนัก ก็อาจไม่ได้ทำให้เราชนะคู่แข่งได้ ยิ่งถ้าคู่แข่งมีฝีมือ รับเหนียวๆ ตบหนักๆ ไปก็คืนมาได้ เหมือนตีใส่ผนังไปจนสุดท้ายตีออก ตบติดเน็ตแทน

จริงๆ แล้วการมีลูกตบหนักๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นลูก winner เสมอไป แต่เป็นลูกทำลายจังหวะคู่ต่อสู้ ให้เสียบาลานซ์ เปิดพื้นที่คอร์ท และเปิดโอกาสให้คนหน้าได้ซ้ำทำคะแนน ถ้าเราดูมือระดับโลก เช่น Ivanov/Sozonov, Goh V Shem, Koh Sung Hyun ถึงจะมีลูกตบที่หนักหน่วง แต่ก็ยังไม่รั้งมือ 1 เท่ากับ Endo/Watanabe หรือ Kevin/Marcus ชายคู่จากอินโดนีเซีย ซึ่งเน้นความว่องไวและเหนียวสุดๆ ซึ่งทั้งสองคู่ไม่ได้มีลูกตบหนักเป็นอาวุธหลัก

ถ้าคุณมีอาวุธเด็ดเป็นลูกตบอย่างเดียว ตัดหยอดไม่เป็น คู่แข่งก็แก้เกมด้วยการไม่ยกให้คุณตบได้ง่ายๆ และรอคุณตบอย่างเดียว แต่ถ้าคุณมีลูกตัดคมๆ ด้วย ฝั่งตรงข้ามต้องระวังเพิ่มขึ้น ทำให้ลูกตบมีผลมากขึ้น ที่สำคัญควรฝึกทักษะที่เสริมกัน เช่น ลูกที่เทคตบหนักจะเสริมกับการดักลูกแย้บของคนหน้า ลูกดาดที่เร็วแรงจะมาเสริมกับการดักตบครึ่งคอร์ท ลูกรับเหนียวๆ ต้องมาพร้อมกับความฟิต เป็นต้น

จะเห็นว่าเรามักให้ความสำคัญกับลูกตบหนักในเกมคู่จนมากเกินไป ซึ่งสิ่งสำคัญไม่น้อยกว่าน้ำหนักตบคือ ตำแหน่งที่ตบไปหาคู่ต่อสู้ ถ้าสุ่มสี่สุ่มห้าตบหนักๆ เข้าโฟร์แฮนด์ฝั่งตรงข้าม คู่ต่อสู้สาดมาที วิ่งร้อยเมตร คนหน้าก็อาจจะช่วยชีวิตคุณไว้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเรื่องของการ ‘ควบคุม’ ทิศทาง และ น้ำหนักการออกลูกให้เหมาะกับสถานการ์ จะสร้างความได้เปรียบมากกว่า

จริงๆ การตีแบดมินตันแบบคู่นั้น มีรายละเอียดเยอะมาก ทั้งการออกลูกจากด้านหน้าและหลังคอร์ท ทั้งการตำแหน่งการยืน การวนเข้าออก การเปลี่ยนเกม ทั้งหมดนี้ทีมงาน Jongnow จะทำคอนเทนท์ดีๆ มาให้นักแบดทุกท่านเรื่อยๆ อย่าลืมกดติดตามนะคะ

ขี้นเอ็นเว้นโปร เว้นทำไม? วิธีขึ้นเอ็นควรขึ้นแบบไหนดี

 

การขึ้นเอ็นแบบเว้นโปร มีผลต่อไม้ และทำให้เสียงดังขึ้นจริงหรือ ?
ถามกันมาเยอะมาก ๆ ประเด็นเรื่องของการขึ้นเอ็น 2 แบบ ขึ้นเอ็นแบบเว้นโปร /ไม่เว้นโปร แบบไหนดีกว่ากัน ?

Jongnow ก็เลยได้คำปรึกษาจากคุณแชมป์ ร้าน Mr.C Sport Mr.C Sports คุณแชมป์เป็นหนึ่งในทีมงานที่ได้รับเชิญให้ขึ้นเอ็นให้กับนักกีฬาระดับโลกหลายคนในศึก Thomas & Uber Cup 2022 ที่จัดขึ้นที่ประเทศไทยที่ผ่านมา

การขึ้นเอ็นแบบเว้นโปร คือการดึงเอ็นเส้นแนวนอนเส้นสุดท้าย ลงมา 1 ช่องตาไก่
มีประวัติมาจากไม้ยี่ห้อ Pro KENNEX รุ่นหนึ่ง ซึ่งเวลาขึ้นจะบังคับให้ต้องเว้นช่องด้านล่างเสมอ คนจึงติดปากเรียกกันต่อมาว่า “เว้นโปร” มาจากชื่อของโปร เคนเน็ก นั่นเอง จากนั้นก็เลยได้วิธีการขึ้นเอ็นแบบนี้มาตั้งแต่ตอนนั้น (พี่แชมป์บอกว่าต่างชาติจะไม่รู้จักการเว้นแบบนี้ เค้าจะงงว่าเว้นเพื่อ? 555555555) 

อย่างนักแบดระดับโลก 99% ก็ไม่เว้นกันค่ะ แต่ที่เราเห็นขึ้นเอ็นแบบเว้นโปรก็จะมีแค่ Tai Tzu Ying ที่คุณพ่อจะเป็นผู้ขึ้นเอ็นให้แต่เป็นผู้เดียวเลย ยิ่งถ้ารายการไหนคุณพ่อไม่ได้ไปก็จะต้องพกไม้ไปเยอะซะหน่อย (เพราะชื่อใจในคุณพ่อ ฟิลลิ่งนี้น่ารักมาก ๆ เลยค่ะ)

 

คำถามยอดฮิตที่เกี่ยวกับการขึ้นเอ็น
Q : การขึ้นเอ็นแบบเว้นโปรมีผลกับอายุการใช้งานของไม้หรือไม่ ?
คำตอบคือ : ไม่มีผลกับเฟรมเลยแม้ว่าจะตีจนเอ็นขาด และกลัวไม่หักเพราะแรงตึงไม่เท่ากัน
ปกติบริเวณจุด T Joint ของใหม่แร็กเก็ต เป็นจุดที่จะแข็งแรงที่สุดอยู่แล้ว ฉะนั้นการเว้นโปรไม่ได้ส่งผลต่อเฟรม


**เกร็ดเล็ก ๆ เอ็นขาดแบบไหนบอกอะไรได้บ้าง

  • เอ็นขาดแนวนอน (ค่อนไปทางหัวไม้) อาจจะเกิดจากการตีแม่นมาก ๆ เข้า Sweet spot หรือโค้ชที่ปล่อยลูกบ่อย ๆ ก็อาจจะเกิดได้ (บางคนขาด3-5 ไม้ เมื่อนำมาเรียงกันจเห็นะขาดจุดเดียวกันทั้งหมด)
  • เอ็นขาดแนวตั้ง แบ่งเป็น 2 กรณี
    1.ใช้งานปกติ ตีจนเปื่อยหมดสภาพขาดตามอายุ
    2. ขาดไวกว่าปกติ ส่วนมากอาจจะเกิดจากการตีแล้วแป๊กโดนบริเวณขอบเอ็น เนื่องจากขอบเอ็นที่ใกล้กับเฟรมด้านบนของไม้ จะมีความยืดหยุ่นน้อยกว่า โดยกรณีนี้เวลาขาด จะเห็นเหมือนเอ็นขาด 2 เส้นข้างกัน

 

Q : การขึ้นเอ็นแบบเว้นโปรทำให้เสียงดังกว่าหรือไม่ ?
ส่วนนี้คุณแชมป์คิดว่าไม่ได้มีผลที่ความดัง แต่จะเป็นโทนเสียงที่แตกต่างกันออกไปเท่านั้น เพราะจำนวนเส้นเอ็นเท่าเดิม เพียงแค่การเว้นโปรเพียงการขยับเอ็นเส้นสุดท้ายลงมา 1 ช่องตาไก่เท่านั้น (คล้ายเวลากดสายกีต้าร์)

** เกร็ดเล็ก ๆ เอ็นแบบไหนให้เสียงอย่างไร

  • เอ็นเส้นใหญ่ ให้เสียงทุ้มแน่น เช่น BG65 (พอเอาเอ็นมาเคาะ ๆ จะเป็นเสียงโป๊ง ๆ …)
  • เอ็น เส้นเล็ก เช่น BG66 Ultrimax เสียงจะแหลม คม (พอนำมาเคาะจะเป็น ตึ๊ง ตึ๊ง …)

ถ้าถาม มองว่าเส้นใหญ่ ถ้าตีโดนเต็มๆ เสียงจะแน่น และสนั่นกว่า
สุดท้ายนี้ขึ้นอยู่แต่ละความชื่นชอบของแต่ละบุคคลเลยค่ะ แต่ถ้าหากให้ทางคุณแชมป์แนะนำจะแนะนำให้ขึ้นเต็มแบบไม่เส้นโปรมากกว่าค่ะ ในเมื่อผู้ผลิตมีการทำการคิดค้นมาแล้ว เมื่อมีรูตาไก่ก็แนะนำให้ขึ้นให้ครบน่าจะดีที่สุดค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จากคุณแชมป์ เจ้าของร้านขายอุปกรณ์แบดมินตัน หากเพื่อน ๆ สนใจ สามารถลองแวะเข้าไปชมและเลือกซื้อสินค้าได้เลยนะคะ ได้รับคำแนะนำอย่างดีเลยค่ะ http://www.mrc-sports.com/