อาการรองช้ำ ปวดหลังด้านล่างอาจจะมาจากแผ่นรองรองเท้าไม่เหมาะสม (Insole)

“รองเท้าคู่เก่า กับ แผ่นรองรองเท้า (Insole) ใหม่ ลองมาแล้ว 1 อาทิตย์เลยขอมารีวิวให้ฟังกัน”

หลายคนมักมีปัญหาปวดหลัง ปวดขาเมื่อต้องเดินเยอะ ๆ หรือเล่นกีฬาหนัก ๆ พอพยายามหารองเท้ารุ่นท๊อปๆ บางทีก็ช่วยได้บ้างแต่ก็แอบมีอาการเล็กน้อยหลังเดิน วิ่ง ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมเยอะ ๆ เลยมารู้ว่าแผ่นรองรองเท้า (Insole) นั้นมีผลอย่างมากกับสุภาพเท้าของเรา

วันนี้แหวนเลยลองมาตัด insole ของแบรนด์ FIXIFOOT เพื่อนำไปใส่กับรองเท้าแบดที่เราใช้ประจำค่ะ จริง ๆ มันย้ายไปใส่กับรองเท้าเดินเล่นของเราได้ทั้งหมดเลย แม้กระทั่งรองเท้าแตะของ Crocs 

ปัญหาปวดหลังล่าง (Lower Back) หลังตีแบดหรือยืนและเดินนานๆ เกิดจากสรีระเท้าของเราที่เป็นคนอุ้งเท้าสูงนั่นเอง

ประเภทของฝ่าเท้ามีด้วยกัน 2 ประเภท เราควรเลือก Insole แบบไหนให้เหมาะกับเรา
 1.
ฝ่าเท้าแบน หรือไม่มีอุ้งเท้าเลย (Flat Arch)
ลักษณะเท้าแบบนี้คือคนที่ไม่มีส่วนเว้าที่อุ้งเท้าเลยค่ะ  เท้าลักษณะนี้ก็ไม่สามารถใส่รองเท้าที่มีพื้นรองเท้าที่มีแผ่นรองเสริมอุ้งเท้าสูงๆ ได้ เพราะจะทำให้เมื่อยล้า แทนที่จะทำให้รู้สึกใส่แล้วสบายขึ้น

อาการเท้าแบน ถ้าไม่แก้ก่อนปัญหาที่จะตามมาก็คือ
หากออกกำลังกายหนัก ๆ หรือเดินวิ่งนาน ๆ อาจจะเกิดอาการบาดเจ็บได้ที่ อาการบาดเจ็บหน้าแข้งด้านใน (Shin Splints) หรือมีอาการเจ็บที่อุ้งเท้าส้นเท้า และมีอาการปวดเข่าด้านหน้า (Patellotermoral Pain Syndrome )ได้เช่นกัน ฉะนั้นควรเลือกแผ่นรองรองเท้า (Insole)ให้เหมาะสมกับสรีระฝ่าเท้าของเรา

  1. อุ้งฝ่าเท้าสูง (High Arch) ใครที่ลักษณะฝ่าเท้าแบบนี้ คือ มีส่วนเว้าค่อนข้างมาก โดนแต่ละคนนั้นก็จะมีส่วนเว้าไม่เท้ากัน ถ้าเว้ามากก็จะเรียกว่า อุ้งเท้าสูงมาก (Very High Arch)ผลที่เกิดขึ้นหากเลือกแผ่นรองรองเท้า (Insole) ที่ไม่เหมาะสม เวลาที่เราเดินนาน ๆ ยืนนานๆ วิ่งหรือตีแบดมินตัน จะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บของหลังช่วงล่าง หรือกล้ามเนื้อของเอ็นร้อยหวายได้ตามมา ถ้าใครที่เริ่มมีอาการเบื้องต้นไม่แน่ใจ อาจจะลองไปตามบูธต่าง ๆ ที่มีให้วัดจำพวกแผ่นรองรองเท้า (Insole)ที่วัดตัดเฉพาะบุคคล เพื่อให้เราได้รู้ว่า ปัญหาที่จริงของเราเกิดจากอะไรค่ะ
    .
  2. และสุดท้ายเลยคือ ฝ่าเท้าปกติ คือ คนที่มีฝ้าเท้าเว้านิดหน่อย เวลาเลือกหารองเท้าก็จะง่ายหน่อยค่ะ ไม่จำเป็นต้องหาตัว support อะไรมาก เพียงแต่เวลาเลือกรองเท้าให้เน้นตัวช่วย support จำพวก Midsole ต่าง ๆ เวลากันกระแทกเมื่อต้องกระโดด หรือเดินนาน ๆ จะช่วยเซฟหัวเข่า หรือข้อต่อได้ใช้นานๆ แต่การหาแผ่นรองรองเท้า (Insole) ที่ดีในการทำกิจกรรมระหว่างวันที่มีการซัพพอร์ตหัวเข่าและข้อต่อได้ดีก็จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ได้ทั้งรองเท้าดีและแผ่นรองรองเท้า (Insole) ที่รองรับแรงกระแทกได้

สำหรับแหวนเองเล่าให้ฟังทีแรกไม่เคยคิดว่าตัวเองเป็นคนอุ้งเท้าสูงเลย แต่พอได้ไป Scan เท้าด้วยเครื่องวัดแสงอินพาเรดของทาง FIXIFOOT เพื่อนำมาตัดแผ่นรองรองเท้า (Insole) แล้วก็เลยมารู้จริง ๆ เครื่องมันแม่นมาก ๆ รู้อาการของเรายิ่งกว่าหมอดูอีก 555

พอได้มาใช้งานจริง ๆ เบื้องต้นแนะนำให้ใช้แผ่นรองรองเท้า (Insole) ใหม่ สลับกันตัวเก่าก่อน เนื่องจากช่วงแรกกล้ามเนื้อส่วนอุ้งเท้าอาจจะยังไม่เคยได้ใช้งานอาจจะทำให้เมื่อยล้าได้ แนะนำให้ใส่ insole ใหม่ สลับกับแผ่นรองรองเท้า (Insole) คู่เก่า อย่างละ 30 นาที
ทำแบบนี้ไป 1-2 อาทิตย์ และค่อย ๆ ปรับมาใช้แผ่นรองรองเท้า (Insole) ตัวใหม่ให้ได้นานที่สุด เพราะมิฉะนั้น หากเราใส่เฉพาะตอนเล่นกีฬา และตอนปกติไม่ใส่ ก็อาจจะทำให้สรีระของเท้ากลับมาเป็นแบบเดิมได้
.
แนะนำหากใครได้ใช้พวกแผ่นรองรองเท้า (Insole) ที่ตัดเฉพาะบุคคล ไม่ควรนำไปซักและตากแดดนะคะ เพราะจะทำให้แผ่นรองรองเท้า (Insole) นั้นเสียทรงได้ เพราะตัวนี้จะถูกขึ้นรูปด้วยความร้อน และที่สำคัญในทุกๆ 3-4 เดือนควรนำกลับไปขึ้นรูปใหม่ เพราะจะได้ปรับให้แผ่นรองรองเท้า (Insole) นั้นเหมาะกับอุ้งเท้าของเรา