ภาพลักษณ์แบรนด์ (Branding) มีผลต่อการรับรู้หรือภาพจำของคนได้จริงหรือ ?

แบรนด์สปอร์ตระดับโลกทุกแบรนด์ ล้วนมีการวางจุดการทางการตลาดที่แตกต่างกัน

บางแบรนด์มีภาพจำกับกีฬาบางชนิด เช่น เมื่อนึกถึงกีฬาฟุตบอล คุณจะนึกถึง Sport Brand ยี่ห้ออะไร ?
คำถามนี้เชื่อว่าทุกคนล้วนมีคำตอบอยู่แล้วในใจ หนีไม่พ้น Mizuno, Adidas, Nike เป็นต้น

คำถามถัดไป หากนึกถึง Sport Brand ที่เป็น perception สำหรับกีฬาแบดมินตันกันบ้าง? เพื่อน ๆ นึกถึงแบรนด์อะไรกัน ?

เชื่อว่าหลายคนล้วนมีคำตอบอยู่ในใจ และหนีไม่พ้น แบรนด์ใหญ่สัญชาติญี่ปุ่นมาเป็น 1 ใน 3 ในใจของคุณอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้


ทำไมแบรนด์กีฬาเหล่านั้น ถึงนั่งอยู่ในใจของผู้บริโภคได้อย่างยาวนาน ?
…. แน่นอนว่าส่วนหนึ่งของการตลาด ก็มีอยู่หลายส่วน วันนี้คงไม่ได้อยากจะลงลึกเรื่องของการทำการตลาดไปมากนึก แต่สิ่งที่คิดว่าประเด็นที่เราน่าจะได้มาถกกัน ก็คือเรื่องของ “Perception”

“Perception” หรือการรับรู้แบรนด์นั้น ๆ ต้องเกิดมาจากการสร้าง Branding (Branding คืออะไร สามารถขยายความได้จาก https://www.thebrandingjournal.com/2015/10/what-is-branding-definition/)

จากนั้นก็ต้องมีการทำ Activity อย่างต่อเนื่องด้วยระยะเวลาหนึ่ง จนทำให้ผู้บริโภคนั้น เปลี่ยนจากแค่ เคยเห็น – คุ้น ๆ (Awareness) > รู้จัก-จดจำ (Considertation) จนกลายเป็นผู้บริโภค (Conversion) และพัฒนาแบรนด์อย่างต่อนื่อง ก็จะทำให้ลูกค้ากลุ่มนั้นกลายเป็นกลุ่มที่ Royalty ในแบรนด์นั้น ๆ ได้

กลับมาที่แบรนด์ไทยหลายแบรนด์ที่เรารู้จักและคุ้นเคยกันดี เฉกเช่น FBT ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2493 หรือ Grand sport ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504

เรียกได้ว่า เห็นกันมาตั้งแต่สมัยเรียนประถมศึกษา มา ณ วันนี้ก็ยังเห็นแบรนด์เหล่านี้โลดแล่นอยู่ในการแข่งกันกีฬาระดับโลก
Sport Brand ไทยทั้งสองแบรนด์ เชื่อว่าหลายคนรู้จักอย่างแน่นอน แต่ผู้บริโภค Sport Brand นั้น มีมุมมองต่อแบรนด์แบบไหนล่ะ ? (ความคิดเห็นส่วนบุคคลกันไปค่ะ)

แล้วมุมมองแบบไหนล่ะ ที่เราอยากให้ผู้บริโภค Sport Brand มองในสิ่งที่แบรนด์อยากจะให้เป็นได้ ?

📍 สิ่งที่สำคัญหนึ่งสิ่งเลย คือ การทำ Brand personallity = บุคลิกภาพแบรนด์ สิ่งที่จะแสดงถึงตัวตนของสินค้า องค์กร บริษัท อันอาจจะเกิดขึ้นจากการที่แบรนด์นั้นไปมีส่วนร่วม (associate)กับอะไร จึงทำให้คนจำแบรนด์นั้น ๆ ในแบบที่ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายเห็นและจดจำ ซึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือ ผู้บริโภคจะเรียนรู้และตีมูลค่า (Value) ของแบรนด์ ๆ นั้นออกมานั่นเอง

แบรนด์ต้องไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาและก้าวให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภค !
สมัยนี้ที่หลายแบรนด์มักจะหันมาทำก็คือ การ re-Branind อีกครั้ง จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ใช่เพียงแต่การสร้างภาพลักษณ์ให้ทันต่อการเปลี่ยงแปลง แต่แบรน์ยังจะสามารถยืดฐานลูกค้ากลุ่ม Brand royalty ให้อยู่กับคุณไปอีกนานได้อีกด้วย