การตีลูกหยอด (Drop shot) คือ การตีลูกหรือส่งลูกให้ย้อยตกลงข้ามตาข่ายของฝ่ายตรงข้ามใกล้ตาข่ายในระยะที่ไม่เกินเส้นส่ง (ตามภาพด้านล่าง) ลูกสั้นของสนามฝ่ายตรงข้าม ลูกหยอดตีได้ทั้งลูกโฟร์แฮนด์ แบคแฮนด์ และการตีลูกตัด ทั้งแบบการตีได้ลูกเหนือศีรษะ ซึ่งเป็นลูกที่ใช้ตีเพื่อต้องการสร้างเกม หรือสำหรับแบดเดี่ยวคือดึงคู่ต่อสู้ให้ทิ้งเข้ามาแดนหน้าและเปิดพื้นที่ในแดนหลัง
สำหรับการหยอดหน้าตาข่าย (Net shot) ลักษณะลูกหยอดหน้าตาข่าย จะต้องเป็นลูกที่มีระยะลอยต่ำที่สุด โดยผู้ตีลูกหยอดจะต้องตีลูกขนไก่ที่ลูกยังลอยอยู่ในระดับใกล้ขอบตาข่าย (ต่ำกว่าตาข่ายเล็กน้อย เพื่อให้ลูกได้มีระยะปัดย้อยลงไปฝั่งตรงกันข้าม) และตีด้วยใช้ข้อมือในการสัมผัสลูกเป็นหลักไม่ใช่การเหวี่ยงทั้งแขนตี ทั้งนี้ ผู้ตีลูกหยอดจะต้องเคลื่อนที่เข้าหาตำแหน่งลูกให้ใกล้หรือออยู่ในระยะที่สามารถตีลูกได้ ด้วยการก้าวเท้าด้านที่ถนัดไปข้างหน้า เพื่อให้แขนสามารถยื่นถึงตำแหน่งตีลูกได้
ความสำคัญของลูกหยอด (Drop Shot) เป็นหนึ่งในลูกที่เราใช้ในการสร้างเกมแบดมินตัน เพื่อให้คู่ต่อสู้จำเป็นต้องงัดลูกขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการเล่นแบดมินตันประเภทเดี่ยว หรือแบดมินตันประเภทคู่ก็ตาม
เทคนิคการหยอดลูก มีทั้ง 2 รูปแบบคือ หยอดแบบโฟร์แฮนด์ ForeHand และ หยอดแบ็คแฮนด์ BackHand
การหยอดแบบโฟร์แฮนด์นั้นทำได้อย่างไรบ้าง
-
- จับกริ๊บแบดมินตันแบบ Basic Grip ด้วยโฟร์แฮนด์
- ยืนด้านข้าง ถ่ายน้ำหนักมาที่ขาด้านหน้า พร้อมยื่นไม้ออกไป และงอศอกเล็กน้อย
- ขณะที่กำลังตีลูกหยอดโฟร์แฮนด์ ต้องให้หน้าไม้อยู่ต่ำกว่าข้อมือเล็กน้อย และใช้หยอดหน้าไม้จากขวาไปซ้าย และเปิดหน้าไม้เล็กน้อย
- ขณะที่กำลังจะหยอดลูก ระดับของไม้ต้องอยู่ต่ำกว่าตาข่ายประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อเวลาที่ลูกกระทบไม้จะไม่โด่งเกินขอบตาข่ายมากเกินไป
- เทคนิคสำหรับคือ พยายามมีเป้าหมายไว้ที่บริเวณของตาข่ายของเน็ต จะทำให้คุณสามารถหยอดลูกได้อย่างเพอร์เฟกต์เลย
การหยอกแบบแบ็คแฮนด์ทำได้อย่างไรบ้าง?
- เริ่มการจับกริ๊บแบบ Basic Grip ด้วยแบ็กแฮนด์
- ถ่ายน้ำหนักเท้า (ข้างเดียวกับที่ถือไม้แร็ตเก็ต) ไปทางด้านหน้า พร้อมยื่นไม้ออกไป
- งอศอกเล็กน้อย และให้หน้าไม้อยู่ต่ำกว่าข้อมือ
ระยะขณะลูกขนไก่กระทบเอ็น ต้องมีระยะต่ำกว่าเอ็นเล็กน้อย ประมาณ 10-15 เซนติเมตร เพื่อให้มีระยะในการส่งลูกออกไป ลูกที่ออกไปจะไม่สูงจนเกินไป
โอกาสแบบไหนที่เราจะเลือกใช้ลูกหยอด
1. สำหรับแบดเดี่ยวแล้วสามารถใช้ลูกตัดหยอดจากท้ายคอร์ดเพื่อเปลี่ยนจังหวะ บีบให้คู่ต่อสู้ต้องยกลูกขึ้นให้เราเป็นฝ่ายบุก
2. และในแบดมินตันประเภทเดี่ยว ทำการหยอดเพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามเสียหลักในขณะที่กำลังอยู่ห่างจากหน้าตาข่าย
3. สำหรับเกมคู่ สามารถใช้การหยอดเป็นลูกหนึ่งการเปิดเกม เพื่อให้มือหลังได้เปิดการบุกก่อน ชิงเป็นฝ่ายได้เปรียบในเกม
ฉะนั้นการฝึกฝนการหยอดที่มีคุณภาพต้องเกิดจากการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เพราะขณะที่เราฝึกซ้อมในการตี ก็จะแตกต่างจากการเล่นไปตีในสนาม เพราะจะมีตัวแปรหลายประการ ที่อาจจะทำให้ระยะในการเข้ามาหยอดนั้นไม่สมบูรณ์ทุกลูก
เช่น การตบจากท้ายคอร์ด และวิ่งเข้ามาหยอดหน้าเน็ตก็จะมีน้ำหนักตัว จังหวะ บาลานซ์ของข้อมือที่ต้องฝึกฝนเป็นประจำ จึงจะทำได้อย่างชำนาญ และได้ประสิทธิภาพลูกที่ดี
บทความนี้สนับสนุนโดย VICTOR