Category: badminton technic

การแข่งขันต้องมีทั้งผู้แพ้และผู้ชนะ ดูแลใจอย่างไรเมื่อไม่เป็นอย่างหวัง

นักกีฬามาคู่กับความสมหวังและผิดหวัง สลับกันไปไม่ว่าจะกีฬาประเภทไหน ย่อมมีผู้แพ้และผู้ชนะเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการแพ้แมตช์สำคัญที่กระทบต่อผลงานของทีม หรือการพลาดโอกาสได้รับการคัดเลือกอาจทำให้นักกีฬารู้สึกท้อแท้ . วันนี้เรามีแนวทางในการช่วยให้นักกีฬารับมือกับความเครียดและก้าวผ่านความผิดหวังไปเพื่อกลับมาให้ได้ดีกว่าเดิม . 1. ยอมรับความรู้สึก (Self-Awareness) ขั้นตอนแรกในการจัดการกับความผิดหวังคือการยอมรับในความผิดหวัง เมื่อไม่ได้ตามเป้าหมายย่อมเป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกเสียใจ หงุดหงิด หรือแม้แต่โกรธหลังจากความพ่ายแพ้ครั้งสำคัญ การปฏิเสธความรู้สึกหรือพยายามซ่อนความรู้สึกเอาไว้เป็นระยะเวลานานย่อมเป็นการสะสมความคิดลบ ซึ่งอาจนำไปสู่ความกลัวได้ ดังนั้นจงปล่อยให้ตัวเองรับรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น ทำความเข้าใจกับตัวเอง และยอมรับว่าความรู้สึกเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ต้องพบเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ . 2. สะท้อนความคิด (Self-reflection) เมื่อรับรู้และยอมรับความรู้สึกของตัวเองแล้ว สิ่งสำคัญถัดไปคือการไตร่ตรองถึงสิ่งที่เกิดขึ้น การไตร่ตรองตนเองช่วยในการทำความเข้าใจสถานการณ์ สื่งที่เรากระทำไป และผลที่ตามมา โดยต้องมองสถานการณ์อย่างเป็นกลางมากที่สุด อย่าลืมถามตัวเองว่า: ได้ทำทุกอย่างที่ทำได้หรือยัง? มีปัจจัยภายนอกใด ๆ ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมหรือไม่? ได้เรียนรู้อะไรได้บ้างจากประสบการณ์นี้? การสะท้อนและไตร่ตรองความคิดจะช่วยส่งเสริมการเติบโตและช่วยตีกรอบความผิดหวังให้เป็นบันไดก้าวขึ้นไปยังจุดที่สูงที่สูงขึ้น . 3. แรงสนับสนุนและกำลังใจ (Support) หนึ่งในตัวช่วยที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งในการรับมือกับความผิดหวังคือการสนับสนุนและกำลังใจจากเพื่อนร่วมทีม ครอบครัว โค้ช และเแฟนคลับที่เห็นในความสามารถและเชื่อในตัวเรา เป็นส่วนสำคัญในการรับมือกับความรู้สึกเสียใจและท้อแท้ได้ ที่สำคัญบุคคลเหล่านี้ยังสามารถเป็นผู้ช่วยสะท้อนความคิดให้อีกด้วย . 4. ตั้งเป้าหมายใหม่ (Set new goals) หลังจากประสบความผิดหวังครั้งใหญ่ สิ่งสำคัญคือต้องโฟกัสพลังงานใหม่และตั้งเป้าหมายใหม่ […]

ตีแบดมากี่ปี ฝีมือก็มีอยู่เท่าเดิม

เชื่อว่าหลายคนที่เป็นสายตีก๊วน หรือ นักแบดมือใหม่ เมื่อเล่นมาซักระยะหนึ่งจะเจอกับคำถามที่ว่า “ทำไมตีมาตั้งนานแล้ว ไม่เก่งขึ้นซักที” . เหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้เรา ยังย่ำอยู่ที่เดิม ? 1. ตีกับมือเดิม ๆ จับทางได้ แค่ขยับก็รู้ไต๋กันหมดแล้ว คงมีไม่น้อยที่กลุ่มเพื่อน ๆ กันมักจะได้ตีกันเอง และฝีมือก็มักจะได้อยู่ในระดับเดียวกัน จึงทำให้ไม่ได้พัฒนา เช่น ความเร็วของการขยับ, Speed ของการตีลูก หรือรูปแบบการเล่นใหม่ ๆ เป็นต้น . 2. ตีแต่กับมือที่ต่ำกว่า แน่นอนว่าถ้าอยากจะเก่งก็ต้องเจอกับคนเก่ง ๆ (เหนือฟ้ายังมีฟ้า.. เหนือลีชองเหว่ยยังมีหลินตัน ) สิ่งที่เราจะได้เมื่อได้ตีกับคนเก่ง ๆ คือ สังเกตวิธีการออกลูก, ฝึก speed ที่เร็วขึ้นทั้งการขยับ และการตี . แต่ไม่ได้หมายความว่า คุณไม่ควรตีกับมือที่ต่ำว่าคุณ เพียงแต่ การตีกับมือที่ต่ำกว่า คุณก็สามารถตั้งเป้าหมายในการฝึกระหว่างการตีเกมส์ได้เช่นกัน เช่น ปล่อยให้ฝั่งตรงข้ามเป็นฝ่ายบุก และคุณและพาร์ทเนอร์นั้นเป็นฝ่ายรับ เพื่อทำอย่างไรให้ฝั่งคู่ต่อสู้นั้นทำการเปิดเกมส์บุกได้ยากขึ้น . 3. ขาดการฝึกฝน […]

หาโค้ชที่ใช่กับตัวเรา ช่วยพัฒนาได้มากกว่า

โค้ช หรือ ผู้ฝึกสอนเป็นส่วนที่สำคัญสำหรับนักกีฬาอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นนักกีฬาที่เพิ่งเริ่มต้นหรืออยู่ในระดับแข่งขัน การที่นักกีฬามีโค้ชที่ใช่หรือเหมาะสมกับธรรมชาติของนักกีฬานั้นเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาทักษะ ความแข็งแรงของร่างกายและจิตใจ รวมถึงการไปแข่งขันเพื่อคว้าชัยชนะ ดังนั้นเราจึงควรมองหาโค้ชที่เเหมาะกับเรา แต่จะหาโค้ชที่ใช่อาจเป็นเรื่องที่ยากกว่าที่คิด วันนี้เรามีข้อแนะนำในการค้นหาโค้ชมาฝากค่ะ     กำหนดเป้าหมาย: โค้ชแต่ละท่าน อาจมีแนวทาง เทคนิค และวิธีการสอนที่แตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งวิธีการสอนรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอาจจะไม่เหมาะกับธรรมชาติของทุกคน (no one size fits all) โค้ชบางคนอาจให้ความสำคัญกับเทคนิคและการพัฒนาทักษะ ในขณะที่บางคนอาจให้ความสำคัญกับความแข็งแรงและการปรับสภาพร่างกาย ดังนั้นเราควรตั้งเป้าหมายก่อนว่าต้องการพัฒนาด้านใด และโค้ชท่านใดบ้างที่มีความถนัดตามที่มองหา ประสบการณ์และความน่าเชื่อถือ: ประสบการณ์ของโค้ชเป็นสิ่งที่สำคัญที่ควรนำมาพิจารณา เช่น โค้ชบางท่านมีอาจะมีความถนัดสอนเด็ก สอนผู้ใหญ่ หรือเน้นทางสอนนักกีฬา หรือโค้ชบางท่านอาจจะมีประสบการณ์ที่หลากหลายสามารถสอนได้หลายระดับฝีมือและอายุ ค่าใช้จ่าย: โค้ชแต่ละคนอาจจะมีอัตราการสอนที่ไม่เท่ากัน โดยเฉพาะโค้ชที่มีประสบการณ์หรือเชี่ยวชาญเฉพาะทางพิเศษ ดังนั้นอาจจะมองหาโค้ชที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามที่เป้าหมาย และอยู่ในอัตราที่เหมาะสมกับคุณ เคมี: ความสัมพันธ์ระหว่างนักกีฬาและโค้ชมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งโค้ชที่เหมาะกับธรรมชาติของนักกีฬาจะทำให้รู้สึกสบายใจและปลอดภัย อีกทั้งยังสามารถกระตุ้นและให้กำลังใจได้ในระหว่างการซ้อม และการแข่งขันได้ การค้นหาโค้ชหรือผู้ฝึกสอนที่เหมาะสมกับธรรมชาติและตอบสนองเป้าหมายของนักกีฬาเป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาทักษะในทุกระดับ นอกจากโค้ชจะเป็นครูผู้ให้ความรู้แล้ว โค้ชยังเป็นกำลังใจและเป็นเพื่อนร่วมทางของนักกีฬาในการมุ่งสู่เป้าหมายและความสำเร็จอีกด้วย จุดเริ่มต้นของคนที่เพิ่งเริ่มเล่น เราอยากเป็นเพื่อนเล่นแบดมินตัน With you along the way Jongnow […]

เหตุผลที่เราตีเสียเป็นประจำ โดยไม่ได้ตั้งใจ

เคยเป็นไหม วันที่ตั้งใจชนะดันแพ้ แต่วันที่ไม่ได้คาดหวังกลับ ชนะ! สิ่งที่นักแบดทุกคน ไม่ว่าจะมือสมัครเล่น หรือ มืออาชีพ พบเจอเป็นประจำคือ การตีเสียง่ายๆ ในลูกที่ไม่ควรเสีย (unforced error) หรือลูกที่เป็นลูกทำคะแนน ทั้งตีติดเน็ต ลอดเน็ต ตีออก หรือแม้การ ตีวืด! ซึ่งทำให้เราต้องมาหงุดหงิด เสียอารมณ์จนบางทีอาจจะทำให้แพ้เลยก็เป็นไปได้ทั้งๆ ที่เตรียมตัวมาอย่างดีแล้ว มาดู 3 เหตุผลที่ส่งผลกับการตี (เสีย) ของเรา 1. รู้สึกกดดัน เครียด – ความรู้สึกกดดัน ไม่ว่าจากตัวเองที่รู้สึกว่าต้องตีให้เพอร์เฟค ให้ลงเส้น สวยงาม 100% มักจะทำให้เราตีเสีย คู่ขาเราอาจจะเริ่มหงุดหงิด ยิ่งเราตีเสีย ยิ่งกดดันมากขึ้นไปอีก ลองลดความเป้ะลง เช่น เวลาเซฟหลังไม่ต้องกะให้ลงเส้นหลังเป้ะๆ เล็งให้เลยเส้นในมาหน่อย โดยเฉพาะผู้ชาย ซึ่งมีความแข็งแรง โอกาสตีออกค่อนข้างสูง 2. ขาตาย ไม้ตก – เมื่อเรามัวแต่คิดถึงลูกที่ตีเสียไป หรือกังวลกับคะแนน เราจะขาตาย เพราะมัวแต่คิดถึงลูกถัดไปที่เราจะตี […]

เรียนรู้วิธีฝึกหยอดหน้าเน็ต ทั้งโฟร์แฮนด์และแบคแฮนด์

การตีลูกหยอด (Drop shot) คือ การตีลูกหรือส่งลูกให้ย้อยตกลงข้ามตาข่ายของฝ่ายตรงข้ามใกล้ตาข่ายในระยะที่ไม่เกินเส้นส่ง (ตามภาพด้านล่าง) ลูกสั้นของสนามฝ่ายตรงข้าม ลูกหยอดตีได้ทั้งลูกโฟร์แฮนด์ แบคแฮนด์ และการตีลูกตัด ทั้งแบบการตีได้ลูกเหนือศีรษะ ซึ่งเป็นลูกที่ใช้ตีเพื่อต้องการสร้างเกม หรือสำหรับแบดเดี่ยวคือดึงคู่ต่อสู้ให้ทิ้งเข้ามาแดนหน้าและเปิดพื้นที่ในแดนหลัง สำหรับการหยอดหน้าตาข่าย (Net shot) ลักษณะลูกหยอดหน้าตาข่าย จะต้องเป็นลูกที่มีระยะลอยต่ำที่สุด โดยผู้ตีลูกหยอดจะต้องตีลูกขนไก่ที่ลูกยังลอยอยู่ในระดับใกล้ขอบตาข่าย (ต่ำกว่าตาข่ายเล็กน้อย เพื่อให้ลูกได้มีระยะปัดย้อยลงไปฝั่งตรงกันข้าม) และตีด้วยใช้ข้อมือในการสัมผัสลูกเป็นหลักไม่ใช่การเหวี่ยงทั้งแขนตี ทั้งนี้ ผู้ตีลูกหยอดจะต้องเคลื่อนที่เข้าหาตำแหน่งลูกให้ใกล้หรือออยู่ในระยะที่สามารถตีลูกได้ ด้วยการก้าวเท้าด้านที่ถนัดไปข้างหน้า เพื่อให้แขนสามารถยื่นถึงตำแหน่งตีลูกได้ ความสำคัญของลูกหยอด (Drop Shot) เป็นหนึ่งในลูกที่เราใช้ในการสร้างเกมแบดมินตัน เพื่อให้คู่ต่อสู้จำเป็นต้องงัดลูกขึ้นมา  ไม่ว่าจะเป็นการเล่นแบดมินตันประเภทเดี่ยว หรือแบดมินตันประเภทคู่ก็ตาม เทคนิคการหยอดลูก มีทั้ง 2 รูปแบบคือ หยอดแบบโฟร์แฮนด์ ForeHand และ หยอดแบ็คแฮนด์ BackHand การหยอดแบบโฟร์แฮนด์นั้นทำได้อย่างไรบ้าง   จับกริ๊บแบดมินตันแบบ Basic Grip ด้วยโฟร์แฮนด์ ยืนด้านข้าง ถ่ายน้ำหนักมาที่ขาด้านหน้า พร้อมยื่นไม้ออกไป และงอศอกเล็กน้อย ขณะที่กำลังตีลูกหยอดโฟร์แฮนด์ ต้องให้หน้าไม้อยู่ต่ำกว่าข้อมือเล็กน้อย และใช้หยอดหน้าไม้จากขวาไปซ้าย […]

ไม้แบดหัวหนัก ช่วยให้ตบหนักขึ้น ตีแบดแรงขึ้นจริงหรือไม่?

อุปกรณ์แบดมินตันเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่จะทำให้นักกีฬาได้พัฒนาศักยภาพได้มากขึ้น หลากคนมักมีคำถามต้องใช้ไม้แบดแบบไหนดีที่จะช่วยทำให้เราตีแบดได้ดีขึ้น เร็วขึ้น และแม่นยำมากขึ้น ทางจองนาวมีเทคนิคมาแนะนำก่อนที่เราจะไปคุยกับถึงเรื่องอุปกรณ์ที่สำคัญมาก ๆ นั่นคือ “ฝึกฝนพื้นฐานแบดมินตันอย่างถูกต้อง” จะช่วยแก้ปัญหาแรงส่งตีไม่ถึงหลังได้อย่างแน่นอน เริ่มจากปัญหาการตีลูกเซฟไปให้ถึงหลังด้วยการส่งแรงจากลำตัว ไปที่หัวไหล่ ก่อนสะบัดข้อมือออกไป 1. ขณะตีลูกตัวคุณต้องอยู่หลังลูกขนไก่  วิธีการที่เราจะส่งแรงออกไปนั้น ตัวของเราจะต้องมองเห็นลูกแบดอยู่ด้านหน้าเป็นมุม 45 องศาจากด้านบน ซึ่งหลาย ๆ ครั้งที่มือใหม่หลายคนมักจะหงายหลังตีลูก นั้นเป็นเพราะว่า สเต็ปเท้าในการถีบตัวไปด้านหลัง เพื่อให้ลูกอยู่ด้านหน้านั้นยังไม่เร็วพอ อาจจะเสริมด้วยทักษะการสไลด์เท้า หรือสืบเท้าไปด้านหลัง ทำบ่อย ๆ ก็จะคล่องขึ้น และถ้าฝึกฝนได้จะลดการบาดเจ็บการข้อเท้าพลิกได้ด้วย เพราะเมื่อไหร่ที่เราหงายหลังตีนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เราเสียสมดุลในการจัดระเบียบร่างกายด้วย 2. ไม่เปิดลำตัวไปทางด้านซ้าย  ธรรมชาติของร่างกายเราถ้าหากตีลูกและวางร่างกายในแนวระนาบแบบไม่เปิดตัว ทำให้ร่างกายของเราไม่มีแรงที่มาจากลำตัวในการส่งลูก เราจะใช้ได้เพียงแรงที่หัวไหล่และแขนอย่างเดียว นั่นคือผลที่ทำให้การตีลูกโฟร์แฮนด์ไม่ถึงหลัง ซึ่งนอกจากการเปิดลำตัวออกไปด้านข้างแล้ว จำเป็นจะต้องถอยหลังด้วยเท้าข้างที่ถนัดและถ่ายน้ำหนักลงไปที่เท้าหลังด้วย 1 ก้าว เพื่อที่จะส่งแรงจากลำตัวและหัวไหล่ไปทางด้านหน้า 3. ขณะที่กำลังตีลูกเหยียดแขนไม่สุด  เมื่อเวลาที่เราเหยียดแขนในการตีไม่สุด นอกจากจะทำให้ลูกไม่แรงแล้ว จะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่หัวไหล่อีกด้วย 4. หลังจากสามารถแก้ปัญหาได้ทั้ง 3 ข้อแล้ว ควรเพิ่มพลังจากข้อมือเข้าไปด้วย การ “ตีแบดมินตัน” ต่างจากการเล่นกีฬาที่ใช้ไม้แร็กเก็ตอย่างการเล่นเทนนิสตรงที่ […]

วิธีเพิ่มความแข็งแรง ออกกำลังกายให้ได้นานขึ้น

ตีแบดขนาดไหนถึงจุดที่เราจะเบิร์นได้ดีที่สุด และวิธีการสังเกตอัตราการเต้นของหัวใจแบบไหนที่เรียกว่า “พอดี” ของผู้เล่น แบดมินตัน เป็นกีฬาที่ใช้การเคลื่อนไหว สมองและไหวพริบในการออกลูก และยิ่งมีแรลลี่มาก ๆ เท่าใด นั่นแปลว่าทั้งสมอง และกล้ามเนื้อต้องทำงานอย่างสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี จุดนึงที่จะสามารถทำให้เราเกิดการแรลลี่ได้นาน ๆ (ในเกมส์ที่สูสีกัน และไม่ตีเสีย) นั่นคือ 1. ความพร้อมของกล้ามเนื้อ แบดมินตันใช้กล้ามเนื้อในทุกส่วน ไม่เพียงแต่ช่วงแขน ข้อมือ แต่รวมถึงขา และกล้ามเนื้อแกนกลางในทุกส่วน เพื่อที่จะบาลานซ์ร่างกายให้สามารถขยับไปได้อย่างคล่องแคล่ว 2. วัดอัตราการการเต้นของหัวใจ รู้ว่า จุดสูงสุดและต่ำสุดของเพื่อน ๆ ควรเป็นเท่าไหร่ ” แรลลี่ไม่นาน เกมไม่เข้มข้น อัตราการเต้นของหัวใจก็ไม่สูง “ . เริ่มเรียนรู้จากการหาชีพจรขณะที่เราพักหรือ Resting Heart Rate (RHR)  ให้ใส่วัดก่อนนอนเลยค่ะ และตื่นมาปุ๊ป ก็ดูเลยว่าอัตรการเต้นของหัวใจคือเท่าไหร่ ? ” เพราะในขณะที่เรานอน ร่างกายเราขยับตัวน้อยที่สุด” หรือถ้าอยากวัดคร่าว ๆ ให้ลองวัดขณะที่นั่งนิ่ง ๆ และลองใช้นิ้วชี้และนิ้วกลาง จับชีพจรที่ข้อมือดูก็ได้เช่นกันค่ะ […]

กริ๊บหนา กริ๊บบาง มีผลกับการตีลูกแบด มากน้อยแค่ไหน

กริ๊บแบดมินตันหนา กริ๊บแบดมินตันบาง มีผลกับการตีลูกแบด มากน้อยขนาดไหน ? ใครเคยสงสัยกันบ้าง เพื่อน ๆ นักแบดหลายคนน่าจะมีความชอบที่แตกต่างกันบสงคนชอบกริ๊บแบดมินตันหนา หรือกริ๊บแบดมินตันบางแล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน สงสัยหรือไม่ ทำไมบางคนถึงบอกว่า กริ๊บหนามักจะตบได้ดีกว่า ความแน่นของการจับด้าม หรือ กริ๊บแบดมินตันนั้น มีผลกับความเร็วในการการตวัดไม้ การพันกริ๊บที่หนามีพื้นผิวสัมผัสมาก ก็จะทำผู้เล่นสามารถมีพื้นที่จับได้มาก ฉะนั้นสายบุกๆ หลายคนมักจะชอบพันหนาขึ้นหน่อย ทั้งนี้ ความถนัดและ SIZE ของมือผู้เล่นแต่ละคนก็จะมีความแตกต่างก้นออกไป ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้เล่นด้วยเช่นกันค่ะ กริ๊บแบดมินตันบาง พับบางมากๆ มีข้อดีอย่างไร ? เพื่อนนักแบดบางคนเวลาที่ได้ไม้ใหม่มานั้น ก็มักจะแกะ Under Grip หรือกริ๊บแบดมินตันที่ติดมากับด้ามไม้ตอนซื้อออก แล้วพันด้ามใหม่ เพื่อไม่ให้ตัวกริ๊บนั้นหนาเกินไป ข้อดีของการพันบาง ๆ ก็มีส่วนที่จะให้เราสามารถพลิกหน้าไม้ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเราจะมีร่องมือในการหมุนด้าม เปลี่ยนหน้าไม้ แต่ … สุดท้ายนี้ ไม่ว่าจะเป็นกริ๊บแบดมินตัน หนา หรือ บางแล้วแต่ความถนัดของแต่ละคนด้วยนะคะ ซึ่งถ้าเป็นถึงระดับโลกแล้วเชื่อวาง การพันกริ๊บแบดมินตันบางก็สามารถทำให้ตบหนักได้เช่นกัน ดูวิธีพันกริ๊บแบดมินตัน

แบดมินตัน ยืนด้วยปลายเท้า ลงด้วยส้นคืออะไร ?

แบดมินตันจะไม่ยืนเต็มเท้า เพราะเมื่อจะทำให้การขยับไปรับลูกทำได้ช้า ควร ยืนด้วยปลายเท้า และสลับซ้าย-ขวา ตลอดเวลาไม่ให้ขาตาย ทำไมต้องลงด้วยส้นเท้า ? การเคลื่อนไหว ขณะกำลังเข้าหน้า ต้องลงส้นเท้าก่อน เพราะต้องถ่ายน้ำหนักตัวไปข้างหน้าเพื่อรับลูก ถ้าลงไปปลายเท้าจะการถ่ายน้ำหนักร่างกายทำได้ยาก ต้องใช้การก้มตัว น่าจะทำให้น้ำหนักต้องตกบนเข่า และกล้ามเนื้อหลังต้องทำงานมากขึ้น นั่นเอง สังเกตภาพการเคลื่อนที่เข้าหน้าของ “เคนโต โมโมตะ” เดี๋ยวแอดมินจะแปะภาพเอาไว้ให้ด้านล่างนะคะ ขอขอบคุณ คำแนะนำจาก นักกายภาพ หมอประชุม อ่ำหลิม คลินิก PhysiO+

เทคนิคเปิดเกมเสิร์ฟ แยป หยอด วาง ผลัก

เปิดเกมเสิร์ฟให้ได้เปรียบก็มีชัยไปกว่าครึ่งด้วยเทคนิค แยป หยอด วาง ผลัก  การจัดความสำคัญในการเปิดลูกเสิร์ฟ 4 เทคนิคสำคัญ และควรเริ่มเปิดจากความสำคัญจาก 1 ไปข้อที่ 4 แล้วจะทำให้คุณตีแบดมินตันได้เปรียบในเกมได้มากขึ้น 1. เริ่มเปิดการจากแยป การแยปในความหมายคือ เมื่อฝั่งตรงข้ามเปิดเสิร์ฟมาลูกสูงโด่ง สิ่งแรกที่เราควรจะทำคือ ทิ่มลูกหรือแยปลูกให้มีความเร็ว วิถีพุ่งลงพื้นระยะสั้น ๆ ตีหน้าไม้สั้น ๆ เพราะหากถ้าเปิดแขนด้วยองศาที่กว้างเกินไป จะทำให้ตีลูกหน้าเน็ตไม่ทัน และเสี่ยงที่ลูกจะออก การเปิดด้วยการแยป นอกจากจะเป็นการบีบให้ฝั่งตรงข้ามต้องตียากขึ้นในการแก้ไข แถมอาจจะต้องแก้ไขงัดลูกมาให้เราได้ทำการบุกต่ออีกด้วย และเมื่อแยปหน้าเน็ตแล้ว คนหน้าต้องทำหน้าที่เดินเกมประกบต่อเพื่อทำคะแนนให้ได้ 2. ลูกหยอด เปิดเกมแบดมินตัน ลูกหยอดในกีฬาแบดมินตัน เป็นลูกที่เราจะบีบให้ฝั่งตรงข้ามงัดหรือยกลูกมาให้เราได้เป็นฝ่ายบุก แต่การที่เราจะหยอดให้ได้ดี ลูกมีคุณภาพที่ดี ไม่เสียเองนั้นก็ต้องเกิดการฝึกฝนทักษะการหยอดหน้าเน็ต หยอดหน้าเน็ต หยอดปาดด้านโฟร์แฮนด์ Forehand หรือแบ็กแฮนด์ Backhand   คลิปเทคนิคการเลี้ยวโฟร์แฮนด์โดย แมน บุญศักดิ์ พลสนะ อดีตนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย และอดีตมือวางอันดับ 4 ของโลก 3. ลูกวาง […]