รองช้ำ ไม่เป็นไม่รู้ สาเหตุจากรองเท้าและ Insole อุปกรณ์สำคัญที่ทุกคนมองข้าม
นักแบดหลายๆ คนทั้งมือใหม่และมือประจำ อาจจะเคยมีอาการ “ปวดส้นเท้า” หลังตื่นนอนเมื่อลงน้ำหนัก โดยเฉพาะใครที่เพิ่งตีแบดหนักๆ มาเมื่อคืน อาจจะพบกับความเจ็บ เหมือนเข็มทิ่มตอนเดิน แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อได้เดิน หรือ วิ่งไประยะหนึ่ง
อาการเหล่านี้เกิดจากการอักเสบบริเวณพังพืดใต้ฝ่าเท้า ซึ่งเราจะรู้จักกันว่า “โรครองช้ำ” อาการมักจะเป็นๆ หายๆ ดีขึ้นเมื่อได้ขยับ และกลับมาปวดอีกเมื่อหยุดการเคลื่อนไหว และสำหรับบางคนที่เป็นหนัก อาจจะถึงขั้นปวดตลอดเวลา
โดยทั่วไปสาเหตุของการรองช้ำเกิดจากการใช้งานที่มากเกินไป และ/หรือ นานเกินไป รวมถึงน้ำหนักตัวมาก ทำให้เท้าต้องรับแรงกระแทกที่มากขึ้น ซึ่งนอกจากเท้าแล้ว หัวเข่าจะได้รับการกระแทกที่มากขึ้นเช่นกัน แต่สำหรับนักแบดอาจมีปัจจัยเพิ่มเติมเข้ามา:
ฟุตเวิร์คไม่ถูกต้อง – การเคลื่อนไหวให้ถูกต้องเป็นเรื่องที่สำคัญมากในกีฬาแบดมินตัน นักกีฬาต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วไปทั้งด้านหน้า ด้านหลังและด้านข้างอยู่ตลอดเวลา การลงน้ำหนักที่ไม่ถูกต้องอาจสร้างแรงกระแทกให้จุดใดจุดหนึ่งของเท้ามากเกินไป เช่น การลงด้วยหน้าเท้าซึ่งทำให้เสี่ยงต่อข้อเท้าพลิก นอกจากนี้องศาของการวางเท้าขณะเข้าไปรับลูกหน้าควรเป็นทิศทางเดียวกับองศาของไม้เพื่อลดการบิดและการลงน้ำหนักผิดจุด
รองเท้าไม่เหมาะกับเท้า – ฝ่าเท้าของแต่ละคนมีรูปทรงที่ไม่เเหมือนกัน ทำให้ไม่สามารถการกระจายน้ำหนักบนฝ่าเท้าเวลาเคลื่อนไหวได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากโครงสร้างเท้าที่มีอุ้งเท้าน้อยหรือมากกว่าปกติ เช่น เท้าแบนส่งผลให้มีการลงน้ำหนักด้านในฝ่าเท้ามากกว่าปกติ เป็นสาเหตุของอาการปวดเข่าด้านใน หรือ เท้าสูงมากอาจทำให้พังผืด และกล้ามเนื้อฝ่าเท้าตึงมาก เมื่อลงน้ำหนักซ้ำๆ อาจทำให้เกิดรองช้ำได้ง่าย เป็นต้น
การรักษารองช้ำ
– ประคบเย็น เมื่อมีการอักเสบ และลดการใช้งานเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟู
– กายภาพบำบัด การออกกำลังกายเท้าเพื่อเพิ่มความมั่นคงของฝ่าเท้าให้การเคลื่อนไหวสมดุลมากขึ้น และการยืดกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อน่องคลายตัว และเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
– การเสริมแผ่นรองเท้าสำหรับคนที่เป็นเท้าแบน หรือเท้าสูงช่วยส่งเสริมให้เท้าอยู่แนวปกติมากขึ้นได้ และลดอาการเจ็บได้มากขึ้น
– การปรับฟุตเวิร์ค การลงน้ำหนักเท้าให้ถูกต้อง
หลายครั้งที่มักจะเกิดอาการบาดเจ็บและจึงหาวิธีแก้ไขทีหลัง
Jongnow อยากให้ลองแนะนำหารองเท้าและแผ่นรองรองเท้าดีๆ มาใส่ เพื่อช่วยซัพพอร์ตและลดความเสี่ยงอาการบาดเจ็บ ก่อนที่จะอดเล่นกีฬาที่เพื่อน ๆ รักไปอีกนานค่ะ
โดนจี้ท้ายคอร์ด ทำอย่างไรเมื่อเสียเปรียบในเกม
เจ็บใจไหมตีแบดมินตันกับเพื่อนเมื่อไหร่ โดนเพื่อนโยกซ้ายขวาตลอด! มาดูวิธีแก้เกมและสร้างจุดแข็งของตัวเอง เพื่อวันนึงเราจะเป็นคนกำหนดบังคับเกม (และโยกเพื่อน) และชนะได้บ้าง จริงๆ มีหลายปัจจัย แต่ขอสรุป 3 ข้อสำคัญใหญ่ๆ
1. ตีแบดมินตันต้องฝึกตีลูกเบสิคให้มีความแม่นยำ และสปีดการตีลูก

พอเรามีลูกที่แม่นยำแล้ว สเต็ปปถัดไปคือ ต้องเข้าใจรูปเกม ว่าตีอย่างไรให้ได้เปรียบ เช่น เมื่อตีลูกตบ / ตัด/ เซฟ/ หยอด/ ดาด ไปแล้ว
จากจุดที่คู่แข่งยืน ลูกที่มีโอกาสกลับคืนมามีอะไรบ้าง ลูกเราตีไปเสียเปรียบหรือได้เปรียบ
เพื่อเตรียมตัวไปตีลูกถัดไป ถ้าเข้าใจรูปเกม ก็จะสามารถกำหนดได้ว่าลูกจะไป ซ้าย ขวา หน้า หลัง ตามที่เราต้องการ
ดังนั้นวิธีการแก้ไขคือ
1. ตีแบดมินตันต้องมีการฝึกฝน ทำซ้ำ ๆ แก้ไขลูกที่อ่อน เพื่อทำให้เราตีได้อย่างใจหวัง
2. ตีเกมให้หลากหลายให้ฝึกกับคู่ประจำจะดีมาก เนื่องจากการเล่นคู่ ผู้เล่นแบดมินตันต้องมีความเข้าใจกันเป็นอย่างดี ถึงจะสามารถทำเกมบุก แก้เกมเสียเปรียบได้

ตบหนักไม่ตาย สุดท้ายเสียเอง
ตบเค้าแทบตาย สุดท้ายก็ไม่ชนะ เค้ารับดี หรือ เราตบแย่นะ… 😭😭😭
ขี้นเอ็นเว้นโปร เว้นทำไม? วิธีขึ้นเอ็นควรขึ้นแบบไหนดี

การขึ้นเอ็นแบบเว้นโปร มีผลต่อไม้ และทำให้เสียงดังขึ้นจริงหรือ ?
ถามกันมาเยอะมาก ๆ ประเด็นเรื่องของการขึ้นเอ็น 2 แบบ ขึ้นเอ็นแบบเว้นโปร /ไม่เว้นโปร แบบไหนดีกว่ากัน ?
Jongnow ก็เลยได้คำปรึกษาจากคุณแชมป์ ร้าน Mr.C Sport Mr.C Sports คุณแชมป์เป็นหนึ่งในทีมงานที่ได้รับเชิญให้ขึ้นเอ็นให้กับนักกีฬาระดับโลกหลายคนในศึก Thomas & Uber Cup 2022 ที่จัดขึ้นที่ประเทศไทยที่ผ่านมา
การขึ้นเอ็นแบบเว้นโปร คือการดึงเอ็นเส้นแนวนอนเส้นสุดท้าย ลงมา 1 ช่องตาไก่
มีประวัติมาจากไม้ยี่ห้อ Pro KENNEX รุ่นหนึ่ง ซึ่งเวลาขึ้นจะบังคับให้ต้องเว้นช่องด้านล่างเสมอ คนจึงติดปากเรียกกันต่อมาว่า “เว้นโปร” มาจากชื่อของโปร เคนเน็ก นั่นเอง จากนั้นก็เลยได้วิธีการขึ้นเอ็นแบบนี้มาตั้งแต่ตอนนั้น (พี่แชมป์บอกว่าต่างชาติจะไม่รู้จักการเว้นแบบนี้ เค้าจะงงว่าเว้นเพื่อ? 555555555)
อย่างนักแบดระดับโลก 99% ก็ไม่เว้นกันค่ะ แต่ที่เราเห็นขึ้นเอ็นแบบเว้นโปรก็จะมีแค่ Tai Tzu Ying ที่คุณพ่อจะเป็นผู้ขึ้นเอ็นให้แต่เป็นผู้เดียวเลย ยิ่งถ้ารายการไหนคุณพ่อไม่ได้ไปก็จะต้องพกไม้ไปเยอะซะหน่อย (เพราะชื่อใจในคุณพ่อ ฟิลลิ่งนี้น่ารักมาก ๆ เลยค่ะ)
คำถามยอดฮิตที่เกี่ยวกับการขึ้นเอ็น
Q : การขึ้นเอ็นแบบเว้นโปรมีผลกับอายุการใช้งานของไม้หรือไม่ ?
คำตอบคือ : ไม่มีผลกับเฟรมเลยแม้ว่าจะตีจนเอ็นขาด และกลัวไม่หักเพราะแรงตึงไม่เท่ากัน
ปกติบริเวณจุด T Joint ของใหม่แร็กเก็ต เป็นจุดที่จะแข็งแรงที่สุดอยู่แล้ว ฉะนั้นการเว้นโปรไม่ได้ส่งผลต่อเฟรม
**เกร็ดเล็ก ๆ เอ็นขาดแบบไหนบอกอะไรได้บ้าง
- เอ็นขาดแนวนอน (ค่อนไปทางหัวไม้) อาจจะเกิดจากการตีแม่นมาก ๆ เข้า Sweet spot หรือโค้ชที่ปล่อยลูกบ่อย ๆ ก็อาจจะเกิดได้ (บางคนขาด3-5 ไม้ เมื่อนำมาเรียงกันจเห็นะขาดจุดเดียวกันทั้งหมด)
- เอ็นขาดแนวตั้ง แบ่งเป็น 2 กรณี
1.ใช้งานปกติ ตีจนเปื่อยหมดสภาพขาดตามอายุ
2. ขาดไวกว่าปกติ ส่วนมากอาจจะเกิดจากการตีแล้วแป๊กโดนบริเวณขอบเอ็น เนื่องจากขอบเอ็นที่ใกล้กับเฟรมด้านบนของไม้ จะมีความยืดหยุ่นน้อยกว่า โดยกรณีนี้เวลาขาด จะเห็นเหมือนเอ็นขาด 2 เส้นข้างกัน
Q : การขึ้นเอ็นแบบเว้นโปรทำให้เสียงดังกว่าหรือไม่ ?
ส่วนนี้คุณแชมป์คิดว่าไม่ได้มีผลที่ความดัง แต่จะเป็นโทนเสียงที่แตกต่างกันออกไปเท่านั้น เพราะจำนวนเส้นเอ็นเท่าเดิม เพียงแค่การเว้นโปรเพียงการขยับเอ็นเส้นสุดท้ายลงมา 1 ช่องตาไก่เท่านั้น (คล้ายเวลากดสายกีต้าร์)
** เกร็ดเล็ก ๆ เอ็นแบบไหนให้เสียงอย่างไร
- เอ็นเส้นใหญ่ ให้เสียงทุ้มแน่น เช่น BG65 (พอเอาเอ็นมาเคาะ ๆ จะเป็นเสียงโป๊ง ๆ …)
- เอ็น เส้นเล็ก เช่น BG66 Ultrimax เสียงจะแหลม คม (พอนำมาเคาะจะเป็น ตึ๊ง ตึ๊ง …)
ถ้าถาม มองว่าเส้นใหญ่ ถ้าตีโดนเต็มๆ เสียงจะแน่น และสนั่นกว่า
สุดท้ายนี้ขึ้นอยู่แต่ละความชื่นชอบของแต่ละบุคคลเลยค่ะ แต่ถ้าหากให้ทางคุณแชมป์แนะนำจะแนะนำให้ขึ้นเต็มแบบไม่เส้นโปรมากกว่าค่ะ ในเมื่อผู้ผลิตมีการทำการคิดค้นมาแล้ว เมื่อมีรูตาไก่ก็แนะนำให้ขึ้นให้ครบน่าจะดีที่สุดค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จากคุณแชมป์ เจ้าของร้านขายอุปกรณ์แบดมินตัน หากเพื่อน ๆ สนใจ สามารถลองแวะเข้าไปชมและเลือกซื้อสินค้าได้เลยนะคะ ได้รับคำแนะนำอย่างดีเลยค่ะ http://www.mrc-sports.com/
5 นิสัยแย่ๆของคนตีแบด ที่ทำคู่ขาเสียกำลังใจ
ทำไมเธอตีแบบนั้น ทำไมไม่ทำแบบนี้! เสียงแว่วมาตลอดเวลาเหมือนมีผู้กับกับอยู่ในสนามแบด พฤติกรรมที่อาจจะทำให้คู่หูหมดกำลังใจและไม่อยากตี !
เมื่อใดที่เราได้ไปเริ่มตีแบดกับเพื่อน ๆ ที่อาจจะสนิทกัน หรือไม่สนิทคุ้นเคยกัน เริ่มแรกเรามักจะเห็นความเกรงใจซึ่งกันและกัน หรือการให้อภัยกัน
แต่ยิ่งนานวันเข้า ความเกรงใจและให้เกียรติกันในสนามกลับน้อยลง จนทำให้หลายคนเบื่อการตีแบดไปโดยปริยาย
มีเพื่อนคนไหนเคยเจอแบบนี้ แชร์ความคิดเห็นกันเข้ามาได้นะคะ
1. โทษทุกลูกเป็นความผิดของเพื่อน
แน่นอนล่ะ ว่าไม่มีใครตั้งใจอยากตีไม่ดี, ตีออก, ตีติดตาข่าย
สิ่งหนึ่งที่จะทำให้เพื่อนของของเราสนุกไปด้วยกันกับเกมกีฬา
คือ การให้กำลังใจกัน “ไม่เป็นไร เอาใหม่นะ”
หรือเทคนิคที่จะดีกว่าหากทำแบบนี้นะ! นี่เป็นตัวอย่างการพูด และการใช้น้ำเสียงที่ดี ในการเล่นเกมเพื่อมิตรภาพกัน
2. ถ้าเล่นเพื่อความสนุกสนาน
ไม่ควรเทศนาสั่งสอนระหว่างเกมการเล่น เพราะอาจจะทำให้คู่หูรู้สึกกดดันและอึดอัดได้ เหมือนกับเมื่อเวลาที่เรามีครูระเบียบที่คอยจี้จุด, จับผิดตลอดเวลา แน่นอนว่าความคิดสร้างสรรค์ หรือความตั้งใจมันอาจจะลดลงได้ ส่งผลทำให้การเล่นไม่สนุกสนาน
แต่ก็มีข้อแม้สำหรับเรื่องนี้นะคะ หากต้องการพัฒนาไปพร้อมกับคู่หู อันนี้ก็จะเป็นอีกประเด็น แต่สิ่งสำคัญคือ หลักการและเหตุผลจากผู้รู้ให้อธิบายอย่างกระจ่างมิฉะนั้น เชื่อเลยว่าเถียงกันไม่มีวันจบสิ้น
3. แสดงอารมณ์และสีหน้าที่เบื่อหน่ายใส่คู่หูเมื่อตีผิดพลาด
แม้จะเป็นความไม่ตั้งใจในขณะเล่น.. แต่มันก็มักจะบั่นทอนความรู้สึกของเพื่อนคู่หูด้วยกันไม่ใช่น้อย เพราะเมื่อเราอยู่ในสนาม เราควรหันมาใช้กีฬาในการสร้างมิตรภาพที่ดีต่อกัน
4. เมื่อเพื่อนให้ใจเต็มร้อยในสนาม แต่คุณกลับไม่มี Spirit เลย
เคยไหมที่คุณรู้สึกไม่มีใจอยากจะลงไปเล่นเกมนี้เลย แต่คู่ของคุณนั้นมาเต็ม 100% ที่จะอยากลงมาสนุก เพราะฉะนั้นการลงไปตีในสนามทุกครั้ง ควรเคารพความตั้งใจของคู่หูด้วยเช่นกัน เพราะถ้าหากไม่พร้อมที่จะลงเล่น ไม่ควรเดินลงในสนาม เพราะอาจจะทำให้คู่หูของคุณบั่นทอนความรู้สึกระหว่างเล่นได้
5. เขี่ยลูก หรือ ตีลูก แย่ ๆ กลับไปให้เพื่อน
ไม่ว่าจะส่งลูกให้เพื่อน ฝั่งเดียวกัน หรือฝั่งตรงกันข้าม “วิธีการส่งลูก” นั้นสำคัญกับเรื่องมารยาทในสนามแบด
ทำนองเดียวกัน หากเราเจอเพื่อน เก็บลูกมาใส่ไม้แบดมินตันให้เรา กับ พฤติกรรมเขี่ยลูกมาให้แบบส่ง ๆ เราคงไม่มีใครอยากเจอกับวิธีหลังใช่หรือไม่ เพราะฉะนั้นแล้ว หากเราต้องการสร้างสิ่งแวดล้อมดี ๆ ทุกคนมีรอยยิ้มในสนาม มารยาทการส่งลูกให้กันก็เป็นสิ่งที่สำคัญมิน้อย
ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ อยากให้กีฬาแบดมินตัน เป็นกีฬาที่สามารถเล่นเพื่อสร้างมิตรภาพได้ทุกระดับมือ คนเริ่มเล่น ได้มีโอกาสในการพัฒนาและฝึกฝนด้วยการสอนที่ถูกวิธี ลองคิดว่า แม้จะมือใหม่ แต่ถ้าเพื่อนของเรามีใจที่อยากจะจับไม้แบด ออกกำลังกายแล้ว เรามาให้กำลังใจคนข้าง ๆ เรากันเถอะ ! แล้วมุมมองการเล่นแบดมินตันของเราทุกคนจะมีแต่ความสนุกในทุกครั้งที่ได้ลงไปเล่น
ร่างกายได้อะไรบ้างถ้าออกกำลังกาย 3 วันต่อสัปดาห์
“การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยลดอาการอักเสบในร่างกาย ยังช่วยทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น”
หลายคนไม่รู้วัคซีนหนึ่งที่จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในช่วงนี้ให้กับเราอีกหนึ่งสิ่ง คือ การออกกำลังนั่นเอง เมื่อภูมิคุ้มกันดีร่างกายก็จะสามารถไปต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ นับล้านที่อยู่รายล้อมเราทุกวันได้
งานวิจัยการออกกำลังกายลดแนวโน้มที่จะเป็นหวัดได้มากถึง 26%
ปี 2019 นักวิทยาศาสตร์ พบว่า การออกกำลังกายระดับปานกลาง มีความเชื่อมโยงกับอัตราการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนที่ “ลดลง”
( นั่นหมายถึง การติดเชื้อหวัด หรือการติดเชื้อไวรัสต่าง ๆ )
และยังมีตัวอย่างการศึกษาจำนวน 1413 คน ในประเทศจีนที่มีรายงานพบว่า คนที่มีการออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ช่วยลดแนวโน้มการติดเชื้อหวัด และมีอาการป่วยที่ลดลงได้มากถึง 26%
การออกกำลังกายไม่ว่าเพื่อน ๆ จะออกกำลังกายหนักหรือเบา
จะตีแบดเก่ง หรือเก่งไปถึงระดับนักกีฬาที่มีการฝึกซ้อม
สิ่งสำคัญคือ ร่างกายของคุณได้เคลื่อนไหว และเมื่อร่างกายได้เคลื่อนไหว
สิ่งสำคัญ การเลือกชนิดกีฬาต่าง ๆ ควรออกกำลังกายในความเข้มข้นที่พอเหมาะกับร่างกาย ไม่หนักไป หรือเบาไป นั่นจะทำให้ร่างกายได้ประโยชน์อย่างสูงสุด
ที่มา :
แบดมินตันกีฬาคลายเครียดชาวออฟฟิศ
ซายากะ ฮิโรตะ เป็นอะไรกันนะ ?
เห็นอาการบาดเจ็บที่เข่าของนักกีฬาแบดมินตันแต่ละคน มักจะเห็นกันเป็นประจำ ตั้งแต่มือสมัครเล่น ไปจนถึงนักแบดมินตันระดับโลก แต่ที่สังเกตเห็นชัดเจนใน Tokyo Olymic 2020 คือ “ซายากะ ฮิโรตะ” นักแบดมินตันชาวญี่ปุ่น หญิงคู่มือ 1 ของโลกในปัจจุบัน
.
ซายากะ ฮิโรตะ เป็นอะไรกันนะ ?
เห็นในสนามตอน ฮิโรตะเล่น ก็แอบเสียว ๆ ในบางลูก เพราะดูแล้วอาการบาดเจ็บไม่น่าจะเป็นน้อย ๆ แต่ทำไมเค้ายังสามารถลงไปเล่นได้ดีขนาดนี้
.
อาการบาดเจ็บนี้ คิดว่า เป็นอาการบาดเจ็บ ACL Injury หรือ อาการบาดเจ็บหรือฉีกขาดของเอ็นไขว้หน้าของข้อเข่า (Anterior Cruciate Ligament) ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นเอ็นหลักในหัวเข่า โดยมักเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนทิศทาง กระโดด หรือหยุดอย่างกะทันหัน
.
เกิดขึ้นได้ในกีฬาแบดมินตัน บาสเก็ตบอล หรือฟุตบอล สังเกตได้เบื้องต้นจากเสียงในข้อเข่า และอาการปวดบวมที่หัวเข่า
.
แบ่งได้ 3 ระยะด้วยกัน
.
ระยะที่ 1 : เป็นระยะที่เส้นเอ็นได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย และยังไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของข้อเข่า (คาดว่า ฮิโรตะยังอยู่ใน Phase นี้)
ระยะที่ 2 : เกิดขึ้นเมื่อเส้นเอ็นได้รับบาดเจ็บมากขึ้นและทำให้ข้อเข่าเริ่มหลวม เนื่องจากอาจเป็นผลมาจากเส้นเอ็นบางส่วนฉีกขาด
ระยะที่ 3 : เป็นระยะที่ข้อเข่าไม่มั่นคงเนื่องจากเส้นเอ็นฉีกขาดออกจากกันโดยสมบูรณ์ (อันนี้ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนเลยค่ะ)
.
แต่เบื้องต้นหากรู้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ในระยะแรก สามารถใช้ตัวช่วยในการซัพพอร์ตได้ก่อน เช่น อาการของฮิโรตะ เป็นต้น
.
ซัพพอร์ตที่ฮิโรตะใส่ มีหลักการซัพพอร์ตอย่างไร?
จากความรู้ที่ได้ปรึกษากับนักกายภาพ (หมอประชุม อ่ำหลิม) เพื่อนำมาเป็นวิทยาทานให้กับเพื่อน ๆ นักแบดทุกคน
.
เส้นสีเขียวจำทำหน้าที่ FIX เพื่อไม่ให้กระดูกแยกออกจากกัน และเอ็นไขว้ก็ไม่ถูกยึดใหบาดเจ็บซ้ำ
และส่วนที่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมเส้นสีเขียวที่เข่าด้านข้าง จะช่วยปรับการตั้งค่าการเคลื่อนไหวได้
.
ส่วนเส้นสีส้ม จะถูกจำกัดจากมุมองศาที่กำหนดไว้ เพื่อไม่ให้ส่วนที่บาดเจ็บฉีดขาดหรือกระทบมากไปกว่าเดิม
.
ชิงแชมป์โตเกียวโอลิมปิก2020 ในครั้งนี้ เราจะได้เห็นความมุ่งมั่นของนักกีฬาแต่ละชาติ ไม่ว่าจะชนะหรือแพ้ในรายการนี้ แอดมินเชื่อว่า นักกีฬาทีมชาติไทยทุกคน “คุณสุดยอดแล้ว”
.
ตบ-ตัด-เคาะ สามสหาย สร้างเกมบุกให้ได้เปรียบ



