ทำไมเธอตีแบบนั้น ทำไมไม่ทำแบบนี้! เสียงแว่วมาตลอดเวลาเหมือนมีผู้กับกับอยู่ในสนามแบด พฤติกรรมที่อาจจะทำให้คู่หูหมดกำลังใจและไม่อยากตี !
เมื่อใดที่เราได้ไปเริ่มตีแบดกับเพื่อน ๆ ที่อาจจะสนิทกัน หรือไม่สนิทคุ้นเคยกัน เริ่มแรกเรามักจะเห็นความเกรงใจซึ่งกันและกัน หรือการให้อภัยกัน
แต่ยิ่งนานวันเข้า ความเกรงใจและให้เกียรติกันในสนามกลับน้อยลง จนทำให้หลายคนเบื่อการตีแบดไปโดยปริยาย
มีเพื่อนคนไหนเคยเจอแบบนี้ แชร์ความคิดเห็นกันเข้ามาได้นะคะ
Tokyo 2020 Olympics – Badminton – Men’s Doubles – Group Stage – MFS – Musashino Forest Sport Plaza, Tokyo, Japan – July 27, 2021. Keigo Sonoda of Japan and Takeshi Kamura of Japan react during the match against Li Junhui of China and Liu Yuchen of China. REUTERS/Leonhard Foeger
1. โทษทุกลูกเป็นความผิดของเพื่อน
แน่นอนล่ะ ว่าไม่มีใครตั้งใจอยากตีไม่ดี, ตีออก, ตีติดตาข่าย
สิ่งหนึ่งที่จะทำให้เพื่อนของของเราสนุกไปด้วยกันกับเกมกีฬา
คือ การให้กำลังใจกัน “ไม่เป็นไร เอาใหม่นะ”
หรือเทคนิคที่จะดีกว่าหากทำแบบนี้นะ! นี่เป็นตัวอย่างการพูด และการใช้น้ำเสียงที่ดี ในการเล่นเกมเพื่อมิตรภาพกัน
2. ถ้าเล่นเพื่อความสนุกสนาน
ไม่ควรเทศนาสั่งสอนระหว่างเกมการเล่น เพราะอาจจะทำให้คู่หูรู้สึกกดดันและอึดอัดได้ เหมือนกับเมื่อเวลาที่เรามีครูระเบียบที่คอยจี้จุด, จับผิดตลอดเวลา แน่นอนว่าความคิดสร้างสรรค์ หรือความตั้งใจมันอาจจะลดลงได้ ส่งผลทำให้การเล่นไม่สนุกสนาน
แต่ก็มีข้อแม้สำหรับเรื่องนี้นะคะ หากต้องการพัฒนาไปพร้อมกับคู่หู อันนี้ก็จะเป็นอีกประเด็น แต่สิ่งสำคัญคือ หลักการและเหตุผลจากผู้รู้ให้อธิบายอย่างกระจ่างมิฉะนั้น เชื่อเลยว่าเถียงกันไม่มีวันจบสิ้น
3. แสดงอารมณ์และสีหน้าที่เบื่อหน่ายใส่คู่หูเมื่อตีผิดพลาด
แม้จะเป็นความไม่ตั้งใจในขณะเล่น.. แต่มันก็มักจะบั่นทอนความรู้สึกของเพื่อนคู่หูด้วยกันไม่ใช่น้อย เพราะเมื่อเราอยู่ในสนาม เราควรหันมาใช้กีฬาในการสร้างมิตรภาพที่ดีต่อกัน
4. เมื่อเพื่อนให้ใจเต็มร้อยในสนาม แต่คุณกลับไม่มี Spirit เลย
เคยไหมที่คุณรู้สึกไม่มีใจอยากจะลงไปเล่นเกมนี้เลย แต่คู่ของคุณนั้นมาเต็ม 100% ที่จะอยากลงมาสนุก เพราะฉะนั้นการลงไปตีในสนามทุกครั้ง ควรเคารพความตั้งใจของคู่หูด้วยเช่นกัน เพราะถ้าหากไม่พร้อมที่จะลงเล่น ไม่ควรเดินลงในสนาม เพราะอาจจะทำให้คู่หูของคุณบั่นทอนความรู้สึกระหว่างเล่นได้
5. เขี่ยลูก หรือ ตีลูก แย่ ๆ กลับไปให้เพื่อน
ไม่ว่าจะส่งลูกให้เพื่อน ฝั่งเดียวกัน หรือฝั่งตรงกันข้าม “วิธีการส่งลูก” นั้นสำคัญกับเรื่องมารยาทในสนามแบด
ทำนองเดียวกัน หากเราเจอเพื่อน เก็บลูกมาใส่ไม้แบดมินตันให้เรา กับ พฤติกรรมเขี่ยลูกมาให้แบบส่ง ๆ เราคงไม่มีใครอยากเจอกับวิธีหลังใช่หรือไม่ เพราะฉะนั้นแล้ว หากเราต้องการสร้างสิ่งแวดล้อมดี ๆ ทุกคนมีรอยยิ้มในสนาม มารยาทการส่งลูกให้กันก็เป็นสิ่งที่สำคัญมิน้อย
ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ อยากให้กีฬาแบดมินตัน เป็นกีฬาที่สามารถเล่นเพื่อสร้างมิตรภาพได้ทุกระดับมือ คนเริ่มเล่น ได้มีโอกาสในการพัฒนาและฝึกฝนด้วยการสอนที่ถูกวิธี ลองคิดว่า แม้จะมือใหม่ แต่ถ้าเพื่อนของเรามีใจที่อยากจะจับไม้แบด ออกกำลังกายแล้ว เรามาให้กำลังใจคนข้าง ๆ เรากันเถอะ ! แล้วมุมมองการเล่นแบดมินตันของเราทุกคนจะมีแต่ความสนุกในทุกครั้งที่ได้ลงไปเล่น