

หลายคนที่เป็นแฟนนักแบดมินตันทีมชาติไทย คงจะได้คุ้นชื่อและคุ้นหน้าเป็นอย่างดีกับ “กัน” กันตภณ หวังเจริญ นักแบดมินตันชายเดี่ยว ทีมชาติไทย โดยปัจจุบันอันดับโลกอยู่ที่ 31 ของโลก ซึ่งเคยทำผลงานอันดับโลกที่ดีที่สุดคือ อันดับที่ 12 ของโลก : อ้างอิง (ข้อมูล ณ 30/11/2022)
การกลับมาในฟอร์มใหม่ของ “กัน”กันตภณ หวังเจริญ ในฐานะนักกีฬาอิสระในครั้งนี้ ได้มีทางบริษัท วิคเตอร์ สปอร์ต (ประเทศไทย) เป็นผู้สนับสนุน
โดยเมื่อวันที่ 30 พ.ย.2022 ที่ผ่านมา ณ อาคาร สินสาทรทาวเวอร์ ได้มีพิธีลงนามเซ็นสัญญาการสนับสนุน ระหว่าง นายหมิงชิง จาง กรรมการผู้จัดการ บริษัท วิคเตอร์ สปอร์ต (ประเทศไทย) จำกัด กับ “กัน” กันตภณ หวังเจริญ นักแบดมินตันทีมชาติไทย ประเภทชายเดี่ยว มืออันดับ 31 ของโลก
อีกทั้งในพิธีลงนามเซ็นสัญญาการสนับสนุนนี้ได้รับเกียรติจาก นายกร ทัพพะรังสี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตนายกสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย “แมน” บุญศักดิ์ พลสนะ อดีตนักแบดมินตันทีมชาติไทย มืออันดับ 4 ของโลก ในฐานะแบรนด์แอมบาสเดอร์ของวิคเตอร์ รวมถึงสื่อจากหลากหลายสำนักให้ความสนใจ และร่วมเป็นสักขีพยานในครั้งนี้
สำหรับการเตรียมพร้อมทางด้านร่างกาย และโปรแกรมการฝึกซ้อมนั้น “กัน” กันตภณ หวังเจริญ ได้เข้าฝึกซ้อมที่สโมสรแบดมินตันพลสนะ โดยมี แมน บุญศักด์ พลสนะ เป็นผู้ช่วยวางแผนการฝึกซ้อม ด้วย และ “กัน” กันตภณ หวังเจริญ ยังกล่าวอีกว่า “ขณะนี้ได้มีโปรแกรมฝึกซ้อมสัปดาห์ละ 5 วัน เพราะนักแบดมินตันในปัจจุบันนอกจากเรื่องฝีมือแล้ว ความแข็งแรงทางด้านร่างกายก็สำคัญเช่นกัน และไม่น้อยไปกว่าการสร้างความมั่นใจให้กับตนเองเมื่อลงทำการแข่งขัน เพราะผลงานที่ผ่านมา ตนยอมรับว่าความมั่นใจหายไป และครั้งนี้ผมเชื่อว่าผมจะกลับมาอีกครั้ง”
สำหรับเป้าหมายในปีหน้า “กัน” กันตภณ หวังเจริญ ไว้อย่างไรบ้าง ?
กันตั้งเป้าหมายอย่างแรก คือ การทำผลงานให้ดีเพื่อขยับไปติดท็อป 20 ของโลกก่อน เพื่อที่จะได้โอกาสในการควอลิฟายลุ้นโควตาไปโอลิมปิกเกมส์ 2024 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งรอบควอลิฟาย จะเริ่มตั้งแต่เดือน พ.ค.ปี 2023
บรรยากาศอบอวลไปด้วยความอบอุ่นสนุกนาน และยังอัดแน่นไปด้วยเนื้อหาเบสิคในการตีแบดมินตัน จากโค้ชป้อ ธนกร และโค้ชเก๋ ปาณิสรา อดีตนักกีฬาทีมชาติทั้งสองท่านที่ได้มาแบ่งปันให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 12 ท่าน
ชมคลิปบรรยากาศกิจกรรรม JONGCAMP#3
ใครกำลังมองหาสนามแบดที่จะชวนเพื่อน ๆ ที่ออฟฟิศ หรือครอบครัวมาออกกำลังกายในสนามแบดเปิดใหม่สะอาด ย่านประชาชื่น 37 วันนี้ทาง Jongnow พาทัวร์ Silver Star Badminton กันค่ะ
สนามแบดมินตัน Silver Star Badminton ย่านประชาชื่น 37 มีด้วยกันทั้งหมด 10 สนาม ห้องน้ำพร้อมห้องอาบน้ำ รวมถึงใครที่ขับรถมาก็ยังมีที่จอดรถได้มากกว่า 20 คัน เพราะมีส่วนที่ทางสนามแบดจะเปิดให้เป็นพิเศษในช่วงวันเสาร์ และอาทิตย์เพื่อรองรับลูกค้าที่เข้าอย่างเพียงพอเลยค่ะ
Location สนามแบดมินตัน Silver Star Badminton : 229/2 ซอย ประชาชื่น 37 แยก 7-1-4 แขวง วงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
Tel: 061-2242299
Line: @Silverstar : https://lin.ee/BgYApsK
ที่ตั้ง: https://goo.gl/maps/NoWWeNHLLW7MwWqJ8
บรรยากาศ Silver Star Badminton ย่านประชาชื่น 37 จำนวนทั้งหมด 10 สนาม
รายละเอียดสนามแบดเพิ่มเติมจากทาง Jongnow คลิก
การตีลูกหยอด (Drop shot) คือ การตีลูกหรือส่งลูกให้ย้อยตกลงข้ามตาข่ายของฝ่ายตรงข้ามใกล้ตาข่ายในระยะที่ไม่เกินเส้นส่ง (ตามภาพด้านล่าง) ลูกสั้นของสนามฝ่ายตรงข้าม ลูกหยอดตีได้ทั้งลูกโฟร์แฮนด์ แบคแฮนด์ และการตีลูกตัด ทั้งแบบการตีได้ลูกเหนือศีรษะ ซึ่งเป็นลูกที่ใช้ตีเพื่อต้องการสร้างเกม หรือสำหรับแบดเดี่ยวคือดึงคู่ต่อสู้ให้ทิ้งเข้ามาแดนหน้าและเปิดพื้นที่ในแดนหลัง
สำหรับการหยอดหน้าตาข่าย (Net shot) ลักษณะลูกหยอดหน้าตาข่าย จะต้องเป็นลูกที่มีระยะลอยต่ำที่สุด โดยผู้ตีลูกหยอดจะต้องตีลูกขนไก่ที่ลูกยังลอยอยู่ในระดับใกล้ขอบตาข่าย (ต่ำกว่าตาข่ายเล็กน้อย เพื่อให้ลูกได้มีระยะปัดย้อยลงไปฝั่งตรงกันข้าม) และตีด้วยใช้ข้อมือในการสัมผัสลูกเป็นหลักไม่ใช่การเหวี่ยงทั้งแขนตี ทั้งนี้ ผู้ตีลูกหยอดจะต้องเคลื่อนที่เข้าหาตำแหน่งลูกให้ใกล้หรือออยู่ในระยะที่สามารถตีลูกได้ ด้วยการก้าวเท้าด้านที่ถนัดไปข้างหน้า เพื่อให้แขนสามารถยื่นถึงตำแหน่งตีลูกได้
ความสำคัญของลูกหยอด (Drop Shot) เป็นหนึ่งในลูกที่เราใช้ในการสร้างเกมแบดมินตัน เพื่อให้คู่ต่อสู้จำเป็นต้องงัดลูกขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการเล่นแบดมินตันประเภทเดี่ยว หรือแบดมินตันประเภทคู่ก็ตาม
การหยอดแบบโฟร์แฮนด์นั้นทำได้อย่างไรบ้าง
ระยะขณะลูกขนไก่กระทบเอ็น ต้องมีระยะต่ำกว่าเอ็นเล็กน้อย ประมาณ 10-15 เซนติเมตร เพื่อให้มีระยะในการส่งลูกออกไป ลูกที่ออกไปจะไม่สูงจนเกินไป
1. สำหรับแบดเดี่ยวแล้วสามารถใช้ลูกตัดหยอดจากท้ายคอร์ดเพื่อเปลี่ยนจังหวะ บีบให้คู่ต่อสู้ต้องยกลูกขึ้นให้เราเป็นฝ่ายบุก
2. และในแบดมินตันประเภทเดี่ยว ทำการหยอดเพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามเสียหลักในขณะที่กำลังอยู่ห่างจากหน้าตาข่าย
3. สำหรับเกมคู่ สามารถใช้การหยอดเป็นลูกหนึ่งการเปิดเกม เพื่อให้มือหลังได้เปิดการบุกก่อน ชิงเป็นฝ่ายได้เปรียบในเกม
ฉะนั้นการฝึกฝนการหยอดที่มีคุณภาพต้องเกิดจากการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เพราะขณะที่เราฝึกซ้อมในการตี ก็จะแตกต่างจากการเล่นไปตีในสนาม เพราะจะมีตัวแปรหลายประการ ที่อาจจะทำให้ระยะในการเข้ามาหยอดนั้นไม่สมบูรณ์ทุกลูก
เช่น การตบจากท้ายคอร์ด และวิ่งเข้ามาหยอดหน้าเน็ตก็จะมีน้ำหนักตัว จังหวะ บาลานซ์ของข้อมือที่ต้องฝึกฝนเป็นประจำ จึงจะทำได้อย่างชำนาญ และได้ประสิทธิภาพลูกที่ดี
บทความนี้สนับสนุนโดย VICTOR
ทำไมคู่จีน Zheng Siwei และ Huang Ya Qiong ถึงเป็นมือ 1 ที่โค่นยาก
เชื่อว่าไม่มีใครไม่รู้จักกับนักแบดมินตันคู่ผสม ฝีมือไร้เทียมทานอย่าง Zheng Siwei และ Huang Ya Qiong มือวางอันดับ 3 จากประเทศจีน ที่เคยครองมือวางอันดับ 1 นานถึง 137 สัปดาห์รวม (129 สัปดาห์ติดต่อกัน) เป็นรองเพียงรุ่นพี่ Zhang Nan Zhao และ Yunlei ที่ครองสถิติเป็นมือวางอันดับ 1 ยาวนานถึง 236 สัปดาห์รวม (76 สัปดาห์ติดต่อกัน)
คนที่ติดตามดูการแข่งขันของ BWF คงจะได้เห็นการตีของคู่นี้ อย่างแรกที่นึกถึงคงไม่พ้นความเร็วและการบุกหนักๆ ของ Zheng Siwei เพื่อสร้างเกมและโอกาสในการทำแต้มหน้าเน็ตให้คู่ขา และการอ่านเกมของ Huang Ya Qiong ที่แม่นยำ จึงสามารถดักและทำคะแนนหน้าเน็ตและคว้าชัยชนะได้อย่างน่าประทับใจ
วันนี้ Jongnow ขอมาไขข้อสงสัย ซึ่งคู่ผสมทีมชาติอังกฤษ Jenny Moore และ Greg Mairs ได้วิเคราะห์และทำสถิติมาให้ทุกคนได้เห็นถึงเหตุผลที่ทำให้คู่ผสมจากจีนสามารถครองบัลลังค์แชมป์ได้อย่างสวยงาม
Greg Mairs ทดลองตบใส่จุดเดียวถึง 3 ครั้ง ซึ่งการตบให้เข้าจุดได้ทุกครั้งนั้นยากมากๆ
นอกจากการตบของ Zheng แล้ว การออกลูกดาดและแย้บหน้าเน็ตของ Huang Ya Qiong เองก็มีความแม่นยำ เข้าจุดที่คู่ต่อสู้รับได้ลำบากเช่นกัน
ที่สำคัญคือการออกลูกที่หลากหลายซึ่งทำให้คู่ต่อสู้เดาทางได้ยากขึ้น ไม่รู้ว่าลูกจะมาลงตรงจุดไหน ทำให้คู่แข่งพะวงทั้งลูกหนักและลูกตัดหยอด
หลายครั้งในเกมเราจะเห็นว่าทั้ง Zheng Siwei และ Huang Ya Qiong สามารถไปยืนรอหรือไปดักลูกที่คู่ต่อสู้ตีกลับมาได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะ Huang Ya Qiong ที่มักจะขยับตามคู่ขากำลังบุก ไปยังจุดที่คาดว่าคู่แข่งจะตีกลับมา ซึ่งเกิดจากการสังเกตท่าทาง การเตรียมพร้อมและหน้าไม้ของฝั่งตรงข้าม ซึ่งถึงแม้จะไม่ได้ดักถูกทุกครั้ง แต่การขยับของ Huang Ya Qiong ทำให้คู่ขาเห็นว่า Huang Ya Qiong นั้นต้องการที่จะรับ (intercept) ลูกต่อมาและคู่ขาสามารถจะไปคุมพื้นที่อีกฝั่งได้
จะสังเกตได้ว่าทั้งสองคนจะไม่รีบเล่นลูก winner จนเกินไป ถึงแม้จะอยู่ในจุดที่ได้เริ่มได้เปรียบแล้วเพื่อลดโอกาสการตีเสีย (unforced error) แต่ยังบุกอย่างต่อเนื่องจนมั่นใจว่าคู่แข่งนั้นเสียเปรียบอย่างมากก่อนจะเล่นลูก winner โดยเฉพาะ Huang Ya Qiong เมื่ออยู่หน้าเน็ตจะใช้การวางหยอดหรือแย้บเข้าจุดมากกว่าการพยายามแย้บแรงๆ ตั้งแต่ลูกแรก ส่วน Zheng Siwei เองเมื่อลูกมากลางคอร์ทต่ำกว่าระดับเน็ตจะเลือกการวางหยอดคืนก่อน เพื่อบีบให้คู่ต่อสู้ต้องยกคืนมาสร้างโอกาสในการบุกอีกครั้ง แทนการเลือกโยนตั้งแต่แรก
นอกจากลูกเสิร์ฟสั้นแล้ว ทั้งสองยังมีลูกยิงที่อันตราย ทำให้คู่ต่อสู้ที่จ้องรับลูกหน้าต้องระวังมากขึ้น ไม่สามารถยืนหน้าอย่างเดียวได้
การรับลูกเสิร์ฟ (Return of serves)
เราจะไม่ค่อยเห็น Zheng Siwei และ Huang Ya Qiong ได้คะแนนจากการเปิดลูกเสิร์ฟ winner เป็นลูกแรก นั่นหมายความว่าโอกาสผิดพลาดตีเสียก็น้อยลงเช่นกัน ซึ่งคู่นี้เลือกที่จะเปิดที่บังคับให้คู่ต่อต้องตีเข้าจุดเด่นของตัวเองที่สุด เช่น Zheng Siwei มักจะเปิดลูกเสิร์ฟเข้ากลางคอร์ท (ทั้งแรงและเบา) ให้คู่ต่อสู้ต้องยกคืนไปให้ตัวเองได้บุกต่อทันที ส่วน Huang Ya Qiong เลือกที่จะเล่นลูกหยอดหน้าเน็ตให้ฝ่ายตรงข้ามพยายามเล่นลูกหน้าเน็ตคืน (หลีกเลี่ยงการยกให้ Zheng Siwei) ซึ่งแน่นอนว่า Huang Ya Qiong เป็นมือหน้าที่น่ากลัวอย่างมาก
ที่สำคัญทั้งคู่จะหลีกเลี่ยงการยกลูก ด้วยความนิ่งและความเร็วที่สามารถเข้าถึงลูกได้ไว สามารถเลือกวางลูกได้เปรียบอย่างต่อเนื่อง
ลูกเสีย (Mistakes)
การตีเสียเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สำหรับ Zheng Siwei และ Huang Ya Qiong ตีลูกเสียน้อยกว่าคู่แข่งถึง 35% ซึ่งแมทช์ที่ Jenny และ Craig เจอกับคู่นี้ Jenny และ Craig ตีเสียเองมากถึง 22 ลูกในขณะที่ Zheng Siwei และ Huang Ya Qiong ตีเสียเองเพียง 6 ลูกเท่านั้น นอกจากนี้ คู่จีนยังมีเกมรับที่เหนียวแน่นอีกด้วย
มาดูวิธีการซ้อมกว่าจะมาเป็น Zheng Siwei
ปิดรับสมัครวันที่ 20 ต.ค. 65 หากเต็มก่อนทางเราจะปิดระบบลงทะเบียนทันทีค่ะ.
ปัญหาสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่เจอไม้ที่ถูกใจ ซื้อไม้แบดมากี่ครั้งเป็นต้องขายต่อเพราะตีไม่เข้ามือซักที วันนี้ทางจองนาวจึงมีอุปกรณ์แบดมินตันมาแนะนำว่าไม้แบดมินตันแบบไหนจะเหมาะกับสไตล์ของคุณ
โดยลองมาดูเช็กลิสต่าง ๆ ที่จะช่วยทำให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นคือ
1. ทักษะและความสามารถในการเล่นแบดมินตัน
พื้นฐานแบดมินตันเป็นสิ่งสำคัญ ฉะนั้นการฝึกทักษะพื้นฐานให้ถูกต้องก็จะช่วยให้เราตีแบดได้ดีขึ้น เช่น มือใหม่หลายคนที่มีปัญหาตีไม่ถึงหลัง โดยการส่งแรงแบดมินตันต้องมีองค์ประกอบหลายส่วนตั้งแต่ขา, ลำตัว, หัวไหล่, แขน และข้อมือตามลำดับ เพื่อส่งแรงออกไป หากมีพื้นฐานแบดมินตันที่ดี ไม่ว่าแร็กเก็ตไหน ๆ เราก็สามารถตีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการบาดเจ็บได้อีกด้วย
2. ความแข็งแรงของร่างกาย
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อผู้หญิงและผู้ชายไม่เท่านั้น ฉะนั้นหากเราจะเลือกไม้ที่เหมาะสมสำหรับผู้หญิงจะมีน้ำหนักอยู่ที่ 5U-6U และสำหรับผู้ชายมักจะมีความแข็งแรงที่มากกว่าผู้หญิงแนะนำเริ่มต้นด้วยไม้น้ำหนัก 4U-(80-84g) โดยนักกีฬาที่มีความแข็งแรงขึ้นมาบางคนก็จะใช้น้ำหนัก 3u-(85-89g) เป็นต้น
3. สไตล์การเล่นของคุณเป็นแบบไหน
แบดมินตันมี 2 เกมส์คือ “เกมรับและเกมบุก” โดยส่วนมากคนที่มักจะชอบบุกเลยส่วนมากจะชอบเลือกเป็นไม้หัวหนัก เพื่อช่วยในการส่งแรงออกไปได้ดีขึ้น และหากต้องการความแม่นยำด้วยก็มักจะใช้ก้านแข็ง แต่ในทางกลับกันหากเรามีความแข็งแรงที่ไม่มากพอ ก็อาจจะทำให้เราไม่สามารถใช้คุณสมบัติของไม้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เกมรับ ส่วนมากคนที่ตีไกล
ไม้ก้านแข็ง-ก้านอ่อน คุณเหมาะกับไม้แบบไหน Stiffness of Shaft ?
1.1 Flexible ก้านยืดหยุ่น ระดับ Soft หรือ Super flex เหมาะที่จะเป็นไม้รับ หรือวางลูก ก้านไม้ยืดหยุ่นได้ดี มีแรงดีดลูกจากหน้าไม้ได้ไวแรง ช่วยเสริมให้ดีดส่งลูกไปท้ายคอร์ด การรับลูกตบ เหมาะเป็นลูกโต้ตอบได้ฉับไว โดยเฉพาะลูกดาด
1.2 Flexible ก้านยืดหยุ่น ระดับ Medium หรือ Regular ก้านแข็งปานกลาง ปกติ เหมาะที่จะเป็นไม้รุกและรับในตัว ช่วยเสริมให้การดีดลูกจากหน้าไม้ได้ดี การวาดหน้าไม้ทำได้คล่องทั้งรุกและรับได้ดีพอๆกัน
1.3 Flexible ก้านยืดหยุ่น ระดับ Stiff หรือExtra stiff ก้านแข็ง เหมาะที่จะเป็นไม้รุก ช่วยให้การส่งถ่ายพลังแรงจากข้อมือไปผลักกระทบกับลูกได้รุนแรงอย่างมีประสิทธิภาพที่สมบูรณ์ ทั้งน้ำหนักและทิศทาง เช่นลูกตบ ลูกหยอดหน้าข่าย ลูกครึ่งตบครึ่งตัด (Topspin) เหมาะสำหรับเกมรุกเป็นสำคัญ ส่วนเกมรับก็ทำได้ในระดับดีพอสมควร
3.1 ไม้สายสปีด
เฉิน หลง อดีตนักแบดมินตัน เจ้าของเหรียญทองโอลิมปิกชายเดี่ยว ในปี 2016 ประกาศเลิกเล่นแบดมินตันอย่างเป็นทางการ ตามหลังเหล่าตำนานชายเดี่ยวในยุคเดียวกันอย่าง หลิน ตัน และ ลี ชองเหว่ย
.
เฉิน หลง เคยครองตำแหน่งมือ 1 ของโลกอยู่ 76 สัปดาห์ ในช่วง ปี 2014-2016 สามารถคว้าแชมป์เยาวชนโลกและเยาวชนเอเชีย ปี 2007 และได้แชมป์รุ่นทั่วไปในรายการแรกที่ฟิลิปปินส์ ปี 2009
.
จุดพีคสูงสุดของ เฉิน หลง คือการคว้าเหรียญทองโอลิมปิก ปี 2016 โดยสามารถเอาชนะ ลี ชองเหว่ย จากมาเลเซียไปได้ คว้าเหรียญทองแดงโอลิมปิกที่ลอนดอน ปี2012, คว้าเหรียญเงินโอลิมปิกที่โตเกียว คว้าแชมป์โลก 2 สมัยติดในปี 2014-2015 และสองเหรียญทองแดงในศึกแบดมินตันชิงแชมป์โลกปี 2017 และ 2018
.
คว้าเหรียญเงินชายเดี่ยวเอเชียนเกมส์ 2 สมัย แชมป์เอเชีย 1 สมัย ปี 2017, คว้าแชมป์ เฟรนช์ โอเพ่น ปี 2018-2019 และแชมป์ซูเปอร์ซีรี่ส์ และ ในระดับเวิลด์ทัวร์รวมทั้งสิ้น 22 รายการ แต่ในระยะหลังๆ เฉิน หลง มีอาการบาดเจ็บรบกวนมาตลอดหลังจากโอลิมปิกเกมส์ ที่ประเทศญี่ปุ่น และต้องประกาศเลิกเล่นไป
.
.
ขอขอบคุณแหล่งที่มา: Siamsport
อุปกรณ์แบดมินตันเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่จะทำให้นักกีฬาได้พัฒนาศักยภาพได้มากขึ้น หลากคนมักมีคำถามต้องใช้ไม้แบดแบบไหนดีที่จะช่วยทำให้เราตีแบดได้ดีขึ้น เร็วขึ้น และแม่นยำมากขึ้น
ทางจองนาวมีเทคนิคมาแนะนำก่อนที่เราจะไปคุยกับถึงเรื่องอุปกรณ์ที่สำคัญมาก ๆ นั่นคือ “ฝึกฝนพื้นฐานแบดมินตันอย่างถูกต้อง” จะช่วยแก้ปัญหาแรงส่งตีไม่ถึงหลังได้อย่างแน่นอน
เริ่มจากปัญหาการตีลูกเซฟไปให้ถึงหลังด้วยการส่งแรงจากลำตัว ไปที่หัวไหล่ ก่อนสะบัดข้อมือออกไป
แล้วส่งลูกให้ถึงหลังไม่ใช้เพียงเป็นการป้องกันให้อีกฝ่ายหนึ่งเปิดเกมบุกได้ง่าย แต่ยังมีประโยชน์อื่น ๆ คือ
เทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยทำให้เราตบได้แรง !!