กัน “กันตภณ หวังเจริญ” ลุยซ้อม พร้อมกลับมาท็อปฟอร์มอีกครั้ง โดยมี Victor สนับสนุน

หลายคนที่เป็นแฟนนักแบดมินตันทีมชาติไทย คงจะได้คุ้นชื่อและคุ้นหน้าเป็นอย่างดีกับ “กัน” กันตภณ หวังเจริญ นักแบดมินตันชายเดี่ยว ทีมชาติไทย โดยปัจจุบันอันดับโลกอยู่ที่ 31 ของโลก ซึ่งเคยทำผลงานอันดับโลกที่ดีที่สุดคือ อันดับที่ 12 ของโลก : อ้างอิง (ข้อมูล ณ​ 30/11/2022)

การกลับมาในฟอร์มใหม่ของ “กัน”กันตภณ หวังเจริญ ในฐานะนักกีฬาอิสระในครั้งนี้ ได้มีทางบริษัท วิคเตอร์ สปอร์ต (ประเทศไทย) เป็นผู้สนับสนุน

โดยเมื่อวันที่ 30 พ.ย.2022 ที่ผ่านมา ณ อาคาร สินสาทรทาวเวอร์ ได้มีพิธีลงนามเซ็นสัญญาการสนับสนุน ระหว่าง นายหมิงชิง จาง กรรมการผู้จัดการ บริษัท วิคเตอร์ สปอร์ต (ประเทศไทย) จำกัด กับ “กัน” กันตภณ หวังเจริญ นักแบดมินตันทีมชาติไทย ประเภทชายเดี่ยว มืออันดับ 31 ของโลก

 

 

อีกทั้งในพิธีลงนามเซ็นสัญญาการสนับสนุนนี้ได้รับเกียรติจาก นายกร ทัพพะรังสี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตนายกสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย “แมน” บุญศักดิ์ พลสนะ อดีตนักแบดมินตันทีมชาติไทย มืออันดับ 4 ของโลก ในฐานะแบรนด์แอมบาสเดอร์ของวิคเตอร์ รวมถึงสื่อจากหลากหลายสำนักให้ความสนใจ และร่วมเป็นสักขีพยานในครั้งนี้

นายหมิงชิง จาง กรรมการผู้จัดการ บริษัท วิคเตอร์ สปอร์ต (ประเทศไทย) จำกัด กับ “กัน” กันตภณ หวังเจริญ นักแบดมินตันทีมชาติไทย ประเภทชายเดี่ยว มืออันดับ 31 ของโลก

สำหรับการเตรียมพร้อมทางด้านร่างกาย และโปรแกรมการฝึกซ้อมนั้น “กัน” กันตภณ หวังเจริญ ได้เข้าฝึกซ้อมที่สโมสรแบดมินตันพลสนะ โดยมี แมน บุญศักด์ พลสนะ เป็นผู้ช่วยวางแผนการฝึกซ้อม ด้วย และ “กัน” กันตภณ หวังเจริญ ยังกล่าวอีกว่า “ขณะนี้ได้มีโปรแกรมฝึกซ้อมสัปดาห์ละ 5 วัน เพราะนักแบดมินตันในปัจจุบันนอกจากเรื่องฝีมือแล้ว ความแข็งแรงทางด้านร่างกายก็สำคัญเช่นกัน และไม่น้อยไปกว่าการสร้างความมั่นใจให้กับตนเองเมื่อลงทำการแข่งขัน เพราะผลงานที่ผ่านมา ตนยอมรับว่าความมั่นใจหายไป และครั้งนี้ผมเชื่อว่าผมจะกลับมาอีกครั้ง”

สำหรับเป้าหมายในปีหน้า “กัน” กันตภณ หวังเจริญ ไว้อย่างไรบ้าง ?
กันตั้งเป้าหมายอย่างแรก คือ การทำผลงานให้ดีเพื่อขยับไปติดท็อป 20 ของโลกก่อน เพื่อที่จะได้โอกาสในการควอลิฟายลุ้นโควตาไปโอลิมปิกเกมส์ 2024 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งรอบควอลิฟาย จะเริ่มตั้งแต่เดือน พ.ค.ปี 2023

ทีมงานจองนาว และผู้บริหาร บริษัท วิคเตอร์ สปอร์ต (ประเทศไทย)

JongCAMP#3 by Jongnow ให้คุณตีแบดมินตันได้สนุกกว่าเดิม

จบไปแล้วกับกิจกรรมครั้งที่ 3 JongCAMP#3 by Jongnow ให้คุณตีแบดมินตันได้สนุกกว่าเดิม

บรรยากาศอบอวลไปด้วยความอบอุ่นสนุกนาน และยังอัดแน่นไปด้วยเนื้อหาเบสิคในการตีแบดมินตัน จากโค้ชป้อ ธนกร และโค้ชเก๋ ปาณิสรา อดีตนักกีฬาทีมชาติทั้งสองท่านที่ได้มาแบ่งปันให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 12 ท่าน

 
 
ขอบคุณ YONEX Thailand ที่มาร่วมงานและจัดกิจกรรม Lock on challenge ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านได้ร่วมสนุก พร้อมของรางวัลเพียบ และยังนำไม้แบดมินตันมาให้ทดลองถึง 23 รุ่น!!!
ขอบคุณ guest speaker คุณสุจิตรา เอกมงคลไพศาล ที่มาแนะนำให้ความรู้เรื่องการเลือกอุปกรณ์แบดมินตันให้เหมาะสม เพื่อให้ตีได้อย่างสนุกสนานและลดอาการบาดเจ็บ
 
 
 
 
 
 
ขอบคุณหมอแฟ้ม ธนาวุฒิ อาจกิจโกศล และหมอประชุม อ่ำหลิม นักกายภาพบำบัดจาก PLT คลินิก ที่มาให้ความรู้ด้านอาการบาดเจ็บและแนวทางการรักษา ให้เราได้เล่นกีฬาที่เรารักได้นานแสนนาน
 
 
 
 
 
 
ขอบคุณทีมผู้สอนแบดมินตัน (โค้ชพี่ป้อ) ธนกร ธนพูนหิรัญ
ผู้ฝึกสอนและนักวิทยาศาสตร์กีฬา
BWF Coaching Level 1 Certified และโค้ชเก๋ ปาณิสรา อยู่สกุล อดีตนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย ที่มาช่วยเติมเบสิคทำให้ลดโอกาสการเกิดอาการบาดเจ็บ และช่วยให้พวกเราเล่นได้อย่างสนุกขึ้นค่ะ
 

 
 

ชมคลิปบรรยากาศกิจกรรรม JONGCAMP#3

 

แนะนำสนามแบดมินตัน ย่านประชาชื่น 37 Silver Star Badminton

ใครกำลังมองหาสนามแบดที่จะชวนเพื่อน ๆ ที่ออฟฟิศ หรือครอบครัวมาออกกำลังกายในสนามแบดเปิดใหม่สะอาด ย่านประชาชื่น 37 วันนี้ทาง Jongnow พาทัวร์ Silver Star Badminton กันค่ะ

สนามแบดมินตัน Silver Star Badminton ย่านประชาชื่น 37 มีด้วยกันทั้งหมด 10 สนาม ห้องน้ำพร้อมห้องอาบน้ำ รวมถึงใครที่ขับรถมาก็ยังมีที่จอดรถได้มากกว่า 20 คัน เพราะมีส่วนที่ทางสนามแบดจะเปิดให้เป็นพิเศษในช่วงวันเสาร์ และอาทิตย์เพื่อรองรับลูกค้าที่เข้าอย่างเพียงพอเลยค่ะ

สนามแบดเปิด-ปิด กี่โมง?
Silver Star Badminton ย่านประชาชื่น 37 เปิดให้บริการ วันจันทร์-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 14.00 น. -23.00 น.
ค่าบริการ: 180/ ชั่วโมง

 

 

 

Location สนามแบดมินตัน Silver Star Badminton  : 229/2 ซอย ประชาชื่น 37 แยก 7-1-4 แขวง วงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800

📞Tel: 061-2242299
📌Line: @Silverstar : https://lin.ee/BgYApsK
📍ที่ตั้ง: https://goo.gl/maps/NoWWeNHLLW7MwWqJ8

 

บรรยากาศ Silver Star Badminton ย่านประชาชื่น 37 จำนวนทั้งหมด 10 สนาม

 

รายละเอียดสนามแบดเพิ่มเติมจากทาง Jongnow คลิก

เรียนรู้วิธีฝึกหยอดหน้าเน็ต ทั้งโฟร์แฮนด์และแบคแฮนด์

การตีลูกหยอด (Drop shot) คือ การตีลูกหรือส่งลูกให้ย้อยตกลงข้ามตาข่ายของฝ่ายตรงข้ามใกล้ตาข่ายในระยะที่ไม่เกินเส้นส่ง (ตามภาพด้านล่าง) ลูกสั้นของสนามฝ่ายตรงข้าม ลูกหยอดตีได้ทั้งลูกโฟร์แฮนด์ แบคแฮนด์ และการตีลูกตัด ทั้งแบบการตีได้ลูกเหนือศีรษะ ซึ่งเป็นลูกที่ใช้ตีเพื่อต้องการสร้างเกม หรือสำหรับแบดเดี่ยวคือดึงคู่ต่อสู้ให้ทิ้งเข้ามาแดนหน้าและเปิดพื้นที่ในแดนหลัง

สำหรับการหยอดหน้าตาข่าย (Net shot) ลักษณะลูกหยอดหน้าตาข่าย จะต้องเป็นลูกที่มีระยะลอยต่ำที่สุด โดยผู้ตีลูกหยอดจะต้องตีลูกขนไก่ที่ลูกยังลอยอยู่ในระดับใกล้ขอบตาข่าย (ต่ำกว่าตาข่ายเล็กน้อย เพื่อให้ลูกได้มีระยะปัดย้อยลงไปฝั่งตรงกันข้าม) และตีด้วยใช้ข้อมือในการสัมผัสลูกเป็นหลักไม่ใช่การเหวี่ยงทั้งแขนตี ทั้งนี้ ผู้ตีลูกหยอดจะต้องเคลื่อนที่เข้าหาตำแหน่งลูกให้ใกล้หรือออยู่ในระยะที่สามารถตีลูกได้ ด้วยการก้าวเท้าด้านที่ถนัดไปข้างหน้า เพื่อให้แขนสามารถยื่นถึงตำแหน่งตีลูกได้

ความสำคัญของลูกหยอด (Drop Shot) เป็นหนึ่งในลูกที่เราใช้ในการสร้างเกมแบดมินตัน เพื่อให้คู่ต่อสู้จำเป็นต้องงัดลูกขึ้นมา  ไม่ว่าจะเป็นการเล่นแบดมินตันประเภทเดี่ยว หรือแบดมินตันประเภทคู่ก็ตาม

เทคนิคการหยอดลูก มีทั้ง 2 รูปแบบคือ หยอดแบบโฟร์แฮนด์ ForeHand และ หยอดแบ็คแฮนด์ BackHand

การหยอดแบบโฟร์แฮนด์นั้นทำได้อย่างไรบ้าง
 

    1. จับกริ๊บแบดมินตันแบบ Basic Grip ด้วยโฟร์แฮนด์
    2. ยืนด้านข้าง ถ่ายน้ำหนักมาที่ขาด้านหน้า พร้อมยื่นไม้ออกไป และงอศอกเล็กน้อย
    3. ขณะที่กำลังตีลูกหยอดโฟร์แฮนด์ ต้องให้หน้าไม้อยู่ต่ำกว่าข้อมือเล็กน้อย และใช้หยอดหน้าไม้จากขวาไปซ้าย และเปิดหน้าไม้เล็กน้อย
    4.  ขณะที่กำลังจะหยอดลูก ระดับของไม้ต้องอยู่ต่ำกว่าตาข่ายประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อเวลาที่ลูกกระทบไม้จะไม่โด่งเกินขอบตาข่ายมากเกินไป 

 

  1. เทคนิคสำหรับคือ พยายามมีเป้าหมายไว้ที่บริเวณของตาข่ายของเน็ต จะทำให้คุณสามารถหยอดลูกได้อย่างเพอร์เฟกต์เลย
การหยอกแบบแบ็คแฮนด์ทำได้อย่างไรบ้าง?


  1. เริ่มการจับกริ๊บแบบ Basic Grip ด้วยแบ็กแฮนด์
  2. ถ่ายน้ำหนักเท้า (ข้างเดียวกับที่ถือไม้แร็ตเก็ต) ไปทางด้านหน้า พร้อมยื่นไม้ออกไป
  3. งอศอกเล็กน้อย และให้หน้าไม้อยู่ต่ำกว่าข้อมือ

ระยะขณะลูกขนไก่กระทบเอ็น ต้องมีระยะต่ำกว่าเอ็นเล็กน้อย ประมาณ 10-15 เซนติเมตร เพื่อให้มีระยะในการส่งลูกออกไป ลูกที่ออกไปจะไม่สูงจนเกินไป

โอกาสแบบไหนที่เราจะเลือกใช้ลูกหยอด

1. สำหรับแบดเดี่ยวแล้วสามารถใช้ลูกตัดหยอดจากท้ายคอร์ดเพื่อเปลี่ยนจังหวะ บีบให้คู่ต่อสู้ต้องยกลูกขึ้นให้เราเป็นฝ่ายบุก
2. และในแบดมินตันประเภทเดี่ยว ทำการหยอดเพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามเสียหลักในขณะที่กำลังอยู่ห่างจากหน้าตาข่าย
3. สำหรับเกมคู่ สามารถใช้การหยอดเป็นลูกหนึ่งการเปิดเกม เพื่อให้มือหลังได้เปิดการบุกก่อน ชิงเป็นฝ่ายได้เปรียบในเกม

ฉะนั้นการฝึกฝนการหยอดที่มีคุณภาพต้องเกิดจากการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เพราะขณะที่เราฝึกซ้อมในการตี ก็จะแตกต่างจากการเล่นไปตีในสนาม เพราะจะมีตัวแปรหลายประการ ที่อาจจะทำให้ระยะในการเข้ามาหยอดนั้นไม่สมบูรณ์ทุกลูก

เช่น การตบจากท้ายคอร์ด และวิ่งเข้ามาหยอดหน้าเน็ตก็จะมีน้ำหนักตัว จังหวะ บาลานซ์ของข้อมือที่ต้องฝึกฝนเป็นประจำ จึงจะทำได้อย่างชำนาญ และได้ประสิทธิภาพลูกที่ดี

 

บทความนี้สนับสนุนโดย VICTOR

ทำไมคู่จีน Zheng Siwei และ Huang Ya Qiong ถึงเป็นมือ 1 ที่โค่นยาก

ทำไมคู่จีน Zheng Siwei และ Huang Ya Qiong ถึงเป็นมือ 1 ที่โค่นยาก

เชื่อว่าไม่มีใครไม่รู้จักกับนักแบดมินตันคู่ผสม ฝีมือไร้เทียมทานอย่าง Zheng Siwei และ Huang Ya Qiong มือวางอันดับ 3 จากประเทศจีน ที่เคยครองมือวางอันดับ 1 นานถึง 137 สัปดาห์รวม (129 สัปดาห์ติดต่อกัน) เป็นรองเพียงรุ่นพี่ Zhang Nan Zhao และ Yunlei ที่ครองสถิติเป็นมือวางอันดับ 1 ยาวนานถึง 236 สัปดาห์รวม (76 สัปดาห์ติดต่อกัน)

คนที่ติดตามดูการแข่งขันของ BWF คงจะได้เห็นการตีของคู่นี้ อย่างแรกที่นึกถึงคงไม่พ้นความเร็วและการบุกหนักๆ ของ Zheng Siwei เพื่อสร้างเกมและโอกาสในการทำแต้มหน้าเน็ตให้คู่ขา และการอ่านเกมของ Huang Ya Qiong ที่แม่นยำ จึงสามารถดักและทำคะแนนหน้าเน็ตและคว้าชัยชนะได้อย่างน่าประทับใจ 

วันนี้ Jongnow ขอมาไขข้อสงสัย ซึ่งคู่ผสมทีมชาติอังกฤษ Jenny Moore และ Greg Mairs ได้วิเคราะห์และทำสถิติมาให้ทุกคนได้เห็นถึงเหตุผลที่ทำให้คู่ผสมจากจีนสามารถครองบัลลังค์แชมป์ได้อย่างสวยงาม

  1. ความแม่นยำของลูก (Accuracy)
    เวลาที่เราดูอย่างผิวเผิน อาจจะเห็นว่า Zheng นั้นมีลูกตบที่หนักหน่วง แต่จริงๆ แล้วมีหลายคนที่ได้หนักกว่า Zheng มาก จากสถิติแล้ว Zheng มีลูกตบ winner มากกว่าคู่แข่ง (นักแบดชายคู่ผสม) ถึง 40% ซึ่งเกิดจากการที่ Zheng ตบเข้าตรงสะโพกด้านโฟร์แฮนด์ ซึ่งเป็นจุดที่รับได้ยากที่สุดได้อย่างแม่นยำมากกว่าคนอื่นๆ

Greg Mairs ทดลองตบใส่จุดเดียวถึง 3 ครั้ง ซึ่งการตบให้เข้าจุดได้ทุกครั้งนั้นยากมากๆ

นอกจากการตบของ Zheng แล้ว การออกลูกดาดและแย้บหน้าเน็ตของ Huang Ya Qiong เองก็มีความแม่นยำ เข้าจุดที่คู่ต่อสู้รับได้ลำบากเช่นกัน

ที่สำคัญคือการออกลูกที่หลากหลายซึ่งทำให้คู่ต่อสู้เดาทางได้ยากขึ้น ไม่รู้ว่าลูกจะมาลงตรงจุดไหน ทำให้คู่แข่งพะวงทั้งลูกหนักและลูกตัดหยอด

Image source : https://m88badminton.com/zheng-huang-axelsen-continue-winning-ways-in-indonesia/

2. การอ่านเกม (Reading game)

หลายครั้งในเกมเราจะเห็นว่าทั้ง Zheng Siwei และ Huang Ya Qiong สามารถไปยืนรอหรือไปดักลูกที่คู่ต่อสู้ตีกลับมาได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะ Huang Ya Qiong ที่มักจะขยับตามคู่ขากำลังบุก ไปยังจุดที่คาดว่าคู่แข่งจะตีกลับมา ซึ่งเกิดจากการสังเกตท่าทาง การเตรียมพร้อมและหน้าไม้ของฝั่งตรงข้าม ซึ่งถึงแม้จะไม่ได้ดักถูกทุกครั้ง แต่การขยับของ Huang Ya Qiong ทำให้คู่ขาเห็นว่า Huang Ya Qiong นั้นต้องการที่จะรับ (intercept) ลูกต่อมาและคู่ขาสามารถจะไปคุมพื้นที่อีกฝั่งได้

จะสังเกตได้ว่าทั้งสองคนจะไม่รีบเล่นลูก winner จนเกินไป ถึงแม้จะอยู่ในจุดที่ได้เริ่มได้เปรียบแล้วเพื่อลดโอกาสการตีเสีย (unforced error) แต่ยังบุกอย่างต่อเนื่องจนมั่นใจว่าคู่แข่งนั้นเสียเปรียบอย่างมากก่อนจะเล่นลูก winner โดยเฉพาะ Huang Ya Qiong เมื่ออยู่หน้าเน็ตจะใช้การวางหยอดหรือแย้บเข้าจุดมากกว่าการพยายามแย้บแรงๆ ตั้งแต่ลูกแรก ส่วน Zheng Siwei เองเมื่อลูกมากลางคอร์ทต่ำกว่าระดับเน็ตจะเลือกการวางหยอดคืนก่อน เพื่อบีบให้คู่ต่อสู้ต้องยกคืนมาสร้างโอกาสในการบุกอีกครั้ง แทนการเลือกโยนตั้งแต่แรก

3. ลูกเสิร์ฟ (Serves)
Jenny และ Greg ทำวิเคราะห์การเสิร์ฟของคู่ Zheng Siwei และ Huang Ya Qiong ตอนทำสถิติชนะ 35 แมทช์ติดต่อกัน ซึ่งเราจะเห็นว่าคู่ไร้เทียมทานทำแต้มติดต่อกัน 6 แต้มได้ถึง 24 ครั้งเมื่อเป็นฝ่ายเสิร์ฟ!

 

คู่นี้ทำได้อย่างไร? มี 2 เหตุผล
– คุณภาพของลูกเสิร์ฟ คือลูกเสิร์ฟที่เมื่อข้ามเน็ตไปแล้วมีทิศทางลง (downward direction) ทำให้คู่แข่งต้องตีลูกขึ้น (upward direction) เปิดโอกาสบุกต่อได้ทันที
 
– ความแน่นอน (consistency) คู่นี้เลือกที่จะเสิร์ฟเข้าตัว T หรือเข้าที่ตัวคู่แข่งมากถึง 85% จากการเสิร์ฟทั้งหมด ซึ่งถึงแม้จะไม่ได้หลากหลายมาก แต่ทำให้การเสิร์ฟของคู่นี้เสียน้อยกว่าคู่แข่งถึง 65%

 
นอกจากลูกเสิร์ฟสั้นแล้ว ทั้งสองยังมีลูกยิงที่อันตราย ทำให้คู่ต่อสู้ที่จ้องรับลูกหน้าต้องระวังมากขึ้น ไม่สามารถยืนหน้าอย่างเดียวได้

การรับลูกเสิร์ฟ (Return of serves)
เราจะไม่ค่อยเห็น Zheng Siwei และ Huang Ya Qiong ได้คะแนนจากการเปิดลูกเสิร์ฟ winner เป็นลูกแรก นั่นหมายความว่าโอกาสผิดพลาดตีเสียก็น้อยลงเช่นกัน ซึ่งคู่นี้เลือกที่จะเปิดที่บังคับให้คู่ต่อต้องตีเข้าจุดเด่นของตัวเองที่สุด เช่น Zheng Siwei มักจะเปิดลูกเสิร์ฟเข้ากลางคอร์ท (ทั้งแรงและเบา) ให้คู่ต่อสู้ต้องยกคืนไปให้ตัวเองได้บุกต่อทันที ส่วน Huang Ya Qiong เลือกที่จะเล่นลูกหยอดหน้าเน็ตให้ฝ่ายตรงข้ามพยายามเล่นลูกหน้าเน็ตคืน (หลีกเลี่ยงการยกให้ Zheng Siwei) ซึ่งแน่นอนว่า Huang Ya Qiong เป็นมือหน้าที่น่ากลัวอย่างมาก

ที่สำคัญทั้งคู่จะหลีกเลี่ยงการยกลูก ด้วยความนิ่งและความเร็วที่สามารถเข้าถึงลูกได้ไว สามารถเลือกวางลูกได้เปรียบอย่างต่อเนื่อง

ลูกเสีย (Mistakes)
การตีเสียเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สำหรับ Zheng Siwei และ Huang Ya Qiong ตีลูกเสียน้อยกว่าคู่แข่งถึง 35% ซึ่งแมทช์ที่ Jenny และ Craig เจอกับคู่นี้ Jenny และ Craig ตีเสียเองมากถึง 22 ลูกในขณะที่ Zheng Siwei และ Huang Ya Qiong ตีเสียเองเพียง 6 ลูกเท่านั้น นอกจากนี้ คู่จีนยังมีเกมรับที่เหนียวแน่นอีกด้วย

มาดูวิธีการซ้อมกว่าจะมาเป็น Zheng Siwei

Jongcamp เปิดแคมป์ปูเบสิคพื้นฐานให้กับนักแบดมือใหม่

 

ตามคำเรียกร้อง Jongcamp#2 โอกาสมือใหม่อยากพัฒนาสกิลแบดมินตัน “ตีแบดมินตันให้สนุกว่าเดิม มาเติมเบสิคกับโค้ชมืออาชีพ (BWF Coaching Level 1 Certified)” จองนาวจัดแคมป์พิเศษ สำหรับผู้สนใจปรับพื้นฐานแบดมินตัน นำไปใช้ได้จริง !

เสาร์-อาทิตย์ที่ 29-30 ตุลาคม 2565

⏰ ตั้งแต่ 9.00 น. – 17.00 น.

รวม 12 ชั่วโมงเต็ม**

📍📍สมัครทันทีคลิก :

 

เข้าร่วม Jongcamp จะได้อะไรบ้าง ?
1. เรียนรู้พื้นฐานการตีแบดแบดมินตันอย่างถูกวิธี
2. แก้ไขข้อพกพร่องแต่ละบุคคล
3. สอนกลยุทธ์การเล่นเกมคู่ให้ได้เปรียบ
4. รักษาอาการบาดเจ็บก่อนเรื้อรัง

 

 

สอนแบดมินตันโดย: ธนกร ธนพูนหิรัญ (ป้อ)
ผู้ฝึกสอนและนักวิทยาศาสตร์กีฬา
BWF Coaching Level 1 Certified

 

 

Special Session : วิธีการรักษาอาการบาดเจ็บก่อนเรื้อรัง โดยนักกายภาพบำบัด จากคลินิก PLT กายภาพบำบัดคลินิก

 

 

📌 ทีมนักวิทยาศาสตร์การกีฬามืออาชีพพร้อมนำ Streching ทั้ง Warm up – Cool down อย่างถูกวิธี

 

 

📍รับสมัครเพียง 12 ที่นั่งเท่านั้นค่ะ

ราคารับสมัครคนละ 4,000 บาท

ปิดรับสมัครวันที่ 20 ต.ค. 65 หากเต็มก่อนทางเราจะปิดระบบลงทะเบียนทันทีค่ะ.

พร้อมของ complementary พิเศษสำหรับผู้ร่วมกิจกรรมจากทาง JongCamp เท่านั้น
1. เสื้อเข้าร่วมท่านละ 1 ตัว Exclusive by Jongnow
2. E-Certificate ที่ระลึกจากทางจองนาว

 

 

 

📍Location : Silver Star Badminton ประชาชื่น 37

 

 

 

 

 

     บรรยากาศกิจกรรม JongCamp by Jongnow#1

 

 

 

 

 

 

 

พิกัด : Silver Star Badminton

📍สมัครทันทีคลิก :

รีวิวกิจกรรมจากผู้เข้าร่วม JongCamp by Jongnow#1

 

 

 

 

 

เลือกไม้แบดแบบไหนที่เหมาะกับสไตล์ของคุณ

ปัญหาสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่เจอไม้ที่ถูกใจ ซื้อไม้แบดมากี่ครั้งเป็นต้องขายต่อเพราะตีไม่เข้ามือซักที วันนี้ทางจองนาวจึงมีอุปกรณ์แบดมินตันมาแนะนำว่าไม้แบดมินตันแบบไหนจะเหมาะกับสไตล์ของคุณ

โดยลองมาดูเช็กลิสต่าง ๆ ที่จะช่วยทำให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นคือ

1. ทักษะและความสามารถในการเล่นแบดมินตัน
พื้นฐานแบดมินตันเป็นสิ่งสำคัญ ฉะนั้นการฝึกทักษะพื้นฐานให้ถูกต้องก็จะช่วยให้เราตีแบดได้ดีขึ้น เช่น มือใหม่หลายคนที่มีปัญหาตีไม่ถึงหลัง โดยการส่งแรงแบดมินตันต้องมีองค์ประกอบหลายส่วนตั้งแต่ขา, ลำตัว, หัวไหล่, แขน และข้อมือตามลำดับ เพื่อส่งแรงออกไป หากมีพื้นฐานแบดมินตันที่ดี ไม่ว่าแร็กเก็ตไหน ๆ เราก็สามารถตีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการบาดเจ็บได้อีกด้วย

2. ความแข็งแรงของร่างกาย
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อผู้หญิงและผู้ชายไม่เท่านั้น ฉะนั้นหากเราจะเลือกไม้ที่เหมาะสมสำหรับผู้หญิงจะมีน้ำหนักอยู่ที่ 5U-6U และสำหรับผู้ชายมักจะมีความแข็งแรงที่มากกว่าผู้หญิงแนะนำเริ่มต้นด้วยไม้น้ำหนัก 4U-(80-84g) โดยนักกีฬาที่มีความแข็งแรงขึ้นมาบางคนก็จะใช้น้ำหนัก 3u-(85-89g) เป็นต้น
3. สไตล์การเล่นของคุณเป็นแบบไหน
แบดมินตันมี 2 เกมส์คือ “เกมรับและเกมบุก” โดยส่วนมากคนที่มักจะชอบบุกเลยส่วนมากจะชอบเลือกเป็นไม้หัวหนัก เพื่อช่วยในการส่งแรงออกไปได้ดีขึ้น และหากต้องการความแม่นยำด้วยก็มักจะใช้ก้านแข็ง แต่ในทางกลับกันหากเรามีความแข็งแรงที่ไม่มากพอ ก็อาจจะทำให้เราไม่สามารถใช้คุณสมบัติของไม้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เกมรับ ส่วนมากคนที่ตีไกล

 

ไม้ก้านแข็ง-ก้านอ่อน คุณเหมาะกับไม้แบบไหน Stiffness of Shaft ? 

1.1 Flexible ก้านยืดหยุ่น ระดับ Soft หรือ Super flex เหมาะที่จะเป็นไม้รับ หรือวางลูก ก้านไม้ยืดหยุ่นได้ดี มีแรงดีดลูกจากหน้าไม้ได้ไวแรง ช่วยเสริมให้ดีดส่งลูกไปท้ายคอร์ด การรับลูกตบ เหมาะเป็นลูกโต้ตอบได้ฉับไว โดยเฉพาะลูกดาด

1.2 Flexible ก้านยืดหยุ่น ระดับ Medium หรือ Regular ก้านแข็งปานกลาง ปกติ เหมาะที่จะเป็นไม้รุกและรับในตัว ช่วยเสริมให้การดีดลูกจากหน้าไม้ได้ดี การวาดหน้าไม้ทำได้คล่องทั้งรุกและรับได้ดีพอๆกัน

 1.3 Flexible ก้านยืดหยุ่น ระดับ Stiff หรือExtra stiff ก้านแข็ง เหมาะที่จะเป็นไม้รุก ช่วยให้การส่งถ่ายพลังแรงจากข้อมือไปผลักกระทบกับลูกได้รุนแรงอย่างมีประสิทธิภาพที่สมบูรณ์ ทั้งน้ำหนักและทิศทาง เช่นลูกตบ ลูกหยอดหน้าข่าย ลูกครึ่งตบครึ่งตัด (Topspin) เหมาะสำหรับเกมรุกเป็นสำคัญ ส่วนเกมรับก็ทำได้ในระดับดีพอสมควร

ที่นี้ก็มารู้จักกับไม้แบดแต่ละประเภทกันค่ะ โดยประเภทของไม้ก็จะแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 

3.1 ไม้สายสปีด
โดยมากจะมีลักษณะที่เด่นเลย ก็คือหัวไม้จะเบา เฟรมจะถูกออกแบบให้มีโครงสร้างในการแหวกอากาศได้ดี ไม้แบบนี้จะเหมาะมากกับการเล่นประเภทคู่ โดยเฉพาะผู้เล่นในแดนหน้า เพราะไม้มีน้ำหนักหัวที่เบาทำให้ผู้เล่นในแดนหน้าสามารถยกไม้ดักลูก หรือเปลี่ยนทิศทาง หรือควบคุมลูกที่หน้าเน็ต ทำได้ง่าย นอกจากนี้การโจมตีซ้ำต่อเนื่องที่หน้าเน็ต หรือกลางคอร์ทก็ทำได้อย่างต่อเนื่อง แต่มันก็จะมีข้อสังเกตอยู่ก็คือ หากบุกจากท้ายคอร์ทอาจจะไม่หนักหน่วงเท่าไม้ประเภทหัวหนัก แต่ก็อาจจะแก้ไขปัญหานี้เพื่อเพิ่มกำลังลูกได้จากการใช้ข้อมือช่วย เวลาตบก็จะทำให้ลูกมีความเร็วมากขึ้น

ตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับไม้ในสายนี้ก็จะมี AURASPEED HYPERSONIC, JETSPEED S 10 C, JETSPEED S 12 II โดยที่ทั้ง 3 ไม้นี้เป็นไม้สายสปีดจากทาง Victor ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างจะมาก และจัดเป็นไม้ในกลุ่ม Top Level ทั้งหมด ดังนั้นเรื่องวัสดุและเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตเฟรมและก้าน งานทำสี ความปราณีต ก็ถูกจัดมาเต็มในไม้ทั้ง 3 ตัวนี้
3.1.1 AURASPEED HYPERSONIC

Balance: 295 mm(Head Light – Even Balance) จัดเป็นไม้ก่ำกึ่งระหว่างไม้ balance และ Head Light
Stiffness: 7/10
Composition(Frame): High Resilient Modulus Graphite + NANO Fortity SR + HARD CORED TECHNOLOGY
Composition(Shaft): High Resilient Modulus Graphite + PYROFIL + 6.8 SHAFT
Length: 675 mm
Weight & Grip Size: 4U G5
String tension : 4U ≤ 28lbs
ราคา 4,400
นักกีฬา Melati OKTAVIANTI

จุดเด่นของไม้คือ ไม้มีความเร็วและมีความคล่องตัวสูงมาก ก้านก็ให้แรงดีดที่ดีและยังให้ความรู้สึกนุ่มมือเพราะผลจากเทคโนโลยี PYROFIL ที่ก้านและ FreeCore ที่ด้าม racket มีความคล่องตัวมากในการเล่นลูกสวนดาด และการซ้ำลูกตบอย่างต่อเนื่องในบริเวณกลางคอร์ทและด้านหน้าเน็ท ที่สำคัญที่หลายคนชอบรุ่นนี้คือสีสรรค์และงานการผลิตที่เนี๊ยบมาก ไม่มีอาการเช่น มีเสียงกร๊อปแก๊ปที่กรวยให้น่ารำคาญเมื่อใช้ไปได้สักพักแน่นอน แม้ไม้รุ่นนี้จะผลิตในจีนก็ตาม
3.1.2 JETSPEED S 10 C

Balance: Head Light
Stiffness: 9/10 (Stiff)
Composition(Frame): Ultra High Modulus Graphite + Nano Fortify
Composition(Shaft): Ultra High Modulus Graphite + Nano Resin + PYROFIL + 6.8 SHAFT
Weight & Grip Size: 3,4U G5
String tension : 3U ≤ 28lbs, 4U ≤ 27lbs
นักกีฬา –
ราคา 4,700

จุดเด่นของไม้คือ คล้ายกับ AURASPEED HYPERSONIC เลย ไม้มีความเร็วและมีความคล่องตัวสูงมาก เพราะเป็นคุณสมบัติของไม้รุ่นนี้ และก้านก็ให้แรงดีดที่ดี และให้ความนุ่มมือเพราะผลจากเทคโนโลยี PYROFIL ที่ก้าน racket มีความคล่องตัวมากในการเล่นลูกสวนดาด และการซ้ำลูกตบอย่างต่อเนื่องในบริเวณกลางคอร์ทและด้านหน้าเน็ท และที่ต่างจาก AURASPEED HYPERSONIC คือเนื่องจากไม้ตัวนี้มีก้านที่แข็งกว่าพอสมควรส่งผลให้แรงดีดตัวก็สูงกว่าด้วยดังนั้นในเรื่องลูกบุกก็จะทำได้ดีกว่า AURASPEED HYPERSONIC  พอสมควรเลย ใครเป็นสายที่ชอบไม้หัวเบาแต่บุกได้ดีแนะนำรุ่นนี้เลย

3.1.3 JETSPEED S 12 II

Balance: Head Light
Stiffness: 8/10
Composition(Frame): High Resilient Modulus Graphite + TR + Nano Fortify TR+
Composition(Shaft): High Resilient Modulus Graphite + PYROFIL + 6.6 SHAFT
Weight & Grip Size: 3,4U G5
String tension : 3U ≤ 30lbs, 4U ≤ 29lbs
นักกีฬา –
ราคา 4,700

จุดเด่นของไม้นี้จะคล้ายกับ HYPERSONIC และ JETSPEED S 10 C เลยไม้มีความเร็วและมีความคล่องตัวสูงมาก ก้านก็ให้แรงดีดที่ดีมาก และยังให้ความนุ่มมือเวลาตีเพราะผลจากเทคโนโลยี PYROFIL ที่ก้านและ FreeCore ที่ด้าม racket racket แต่สิ่งที่หลายคนที่ทดลองแล้วคือมันเป็น Racket ที่แม้ว่าก้านจะแข็งแต่ก็ให้ความนุ่มมือมากๆเวลาตี เหมาะกับคนที่ชอบไม้ที่ซับแรงสั่นสะเทือนเวลาไม้ปะทะลูกช่วยลดอาการบาดเจ็บที่ไหล่และข้อศอก แต่ใครที่ชอบไม้ฟิลที่ต้องมีความกระด้างเวลาปะทะลูกไม่แนะนำ

3.2 ไม้สาย Power

แร็กเก็ตสายนี้ก็จะให้กำลังส่งในการตบหรือการเซฟที่ดีมาก ส่วนนึงก็มาจาก นน หัวไม้ที่ค่อนข้างมาก การออกแบบเฟรมก็มีหลากหลายทั้งแบบเป็น Box Shape หรือเฟรมตัดอาการในแบบไม้สายสปีดเพื่อให้ไม้มีความคล่องตัวขึ้น แต่ไม้สายนี้ไม่ได้เหมาะกับทุกๆคน แต่จะเหมาะสำหรับผู้เล่นที่ต้องการพลังการบุกที่สูง และที่สำคัญคือร่างกายผู้ใช้เองก็จะต้องมีความแข็งแรงเพียงพอด้วย

ตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับไม้ในสายนี้ก็จะมี THURSTER K F CLAW LTD ,THURSTER K F ENHANCED ,THURSTER K RYUGA II LZJ โดยที่ทั้ง 3 ไม้นี้ก็เป็นไม้สาย Power จากทาง Victor ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างจะมาก และเป็นไม้ในกลุ่ม Top Level ทั้งหมด ดังนั้นเรื่องวัสดุ เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตเฟรมและก้าน ก็ถูกจัดมาเต็มในไม้ทั้ง 3 ตัวนี้

3.2.1 THURSTER K F CLAW LTD

Balance : Head Heavy
Stiffness: 7/10
Shaft : High Resilient Modulus Graphite + PYROFIL + 6.5 SHAFT
Frame Material : High Resilient Modulus Graphite + Nano Fortify TR + HARD CORED TECHNOLOGY
String tension :  LBS≦31lbs(14Kg)
Weight / Grip Size : 4U/G5
ราคา 5,390
นักกีฬา Tai Tzu-ying

จุดเด่นของไม้คือ อันดับแรกที่เห็นได้เลยคือสีขาวสวยงามมาก งานผลิตเนี๊ยบมากๆ สวยจนเป็นไม้ที่น่าเก็บมากกว่าเอามาตี(เป็นความคิดเห็นส่วนตัว) สมกับเป็นไม้ของอดีตมือ 1 ของโลกที่ครองตำแหน่งยาวนานมากๆ และเหรียญเงินโอลิมปิกคนล่าสุด ส่วนฟิลในการตีคือ ไม้นี้มี นน หัวค่อนข้างมากจึงให้แรงตบที่ดีมากๆ และยังให้ความนุ่มมือพอสมควรจากเทคโนโลยี PYROFIL ที่ก้านและ FreeCore ที่ด้าม ซึ่งตรงจุดนี้ควรจะนิ่มเท่าๆตัวอื่นแต่รุ่นนี้สำหรับรุ่น Tai Tzu-ying จะมีความกระด้างนิดๆอยู่ด้วย ซึ่งบางคนจะชอบเพราะให้ความรู้กระด้างนิดๆตอนไม้กระทบลูก  แต่ไม้ก็ให้ความคล่องตัวในลูกสวนดาดที่ดี และด้วยไม้รุ่นนี้ค่อนข้างมี นน หัวมากทีเดียว ตามสเป็คคือ 303 มม ดังนั้นไม้จึงเหมาะสำหรับผู้เล่นที่มีความเเข็งแรงมากๆ คุณถีงจะได้ประสิทธิภาพจากไม้นี้ได้เต็มที่ หากถ้าคุณแข็งแรงไม่พอก็อาจจะตีได้เพียง 2-3 เก็มส์ข้อมืออาจจะล้าได้ ไม้รุ่นนี้จะเหมาะมากกับผู้เล่นเดี๋ยว

3.2.2 THURSTER K F ENHANCED “HENDRA SETIAWAN

Balance: Head Heavy
Stiffness: 7/10
Composition(Frame): High Resilient Modulus Graphite + PYROFIL + HARD CORED TECHNOLOGY
Composition(Shaft): High Resilient Modulus Graphite + PYROFIL + 6.4 SHAFT
Weight & Grip Size: 4U G5
String tension : 4U ≤ 31lbs
ราคา 5,190
นักกีฬา HENDRA SETIAWAN

จุดเด่นของไม้คือ ไม้นี้จะเป็นไม้หัวหนักที่มีความตรงกันข้ามกับ THURSTER K F CLAW LTD พอสมควรเลย เป็นไม้ที่หัวหนักโดยสเป็คที่มี balance ที่ 301 มม แต่เป็นไม้ที่บุกแล้วให้ความนุ่มมือมากๆ ต่างจากไม้ในสไตล์เดียวกัน(จากเทคโนโลยี PYROFIL ที่ก้านและ FreeCore ที่ด้าม) และยังให้ความคล่องตัวในการเล่นที่ดีมาก ไม่ว่าจะการเล่นสวนดาดเร็ว การรับลูก และยังสามารถสร้างเกมส์บุกได้อย่างต่อเนื่องไม่ล้าเมื่อเล่นไปหลายๆเกมส์ เหมาะมากสำหรับคนที่เล่นคู่ต้องการเน้นเกมส์บุกที่หนักขึ้น แต่ยังให้ความล่องตัวที่สูงเมื่อเล่นเกมส์รับ (แนะนำ)+จอร์แดนก็ใช้

3.2.3 THURSTER K RYUGA II LZJ

Balance: Head Heavy
Stiffness: 7/10
Composition(Frame): High Resilient Modulus Graphite + HARD CORED TECHNOLOGY
Composition(Shaft): High Resilient Modulus Graphite + PYROFIL + 6.6 SHAFT
Weight & Grip Size: 3U G5, 4U G5
String tension : 3U ≤ 32lbs, 4U ≤ 31lbs
ราคา 5,590.
นักกีฬา LEE ZII JIA

จุดเด่นของไม้คือ เป็นไม้ที่ให้แรงบุกได้ดีมากๆตามสไตล์สาย Power แต่ที่สำคัญคือมีการพัฒนาให้ตีง่ายขึ้นและนุ่มมือขึ้นกว่า RYUGA _ตัวแรกมากๆ แต่สิ่งที่หายไปจากตัวแรกคือความรู้สึกกระด้าง Solid Feel แต่อย่างไรก็ตาม RYUGA II LZJ ก็ยังเหมาะกับการเล่นเดี๋ยวมากกว่าเล่นคู่ แต่ผู้ที่ต้องการนำมาเล่นในเกมส์คู่ก็ลองพิจารณา นน 4u จะเหมาะสมกว่า

3.3 กลุ่มไม้ All around

Racket ในกลุ่มนี้จะให้ความสมดุลทั้งในเกมส์รับและเกมส์รุก และยังให้ความแม่นยำในการวางลูกที่ดีมาก ผู้เล่นสาย control จะเหมาะมากกับไม้ประเภทนี้ และอีกคุณสมบัติของไม้ในกลุ่มนี้เลยคือเข้ามือง่ายกว่าไม้ใน 2 แบบแรกคือไม้หัวเบาหรือไม้หัวหนักไปเลย เพราะไม้มีความสมดุลไปทั้งไม้ก็มีความง่ายในการควบคุมน้ำหนักในการออกลูกไป

ตัวเลือกไม้รุ่นที่น่าสนใจสำหรับไม้ในสายนี้ก็จะมี AURASPEED 100X ,BRAVE SWORD 12 ,DRIVEX 9X โดยที่ทั้ง 3 ไม้นี้ก็เป็นไม้สาย all around จากทาง Victor ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างจะมาก และเป็นไม้ในกลุ่ม Top Level ทั้งหมด แม้บางตัวจะออกมานานมากแล้ว แต่ก็ยังได้รับความนิยมและผลิตออกมาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุปัน

3.3.1 AURASPEED 100X

Balance: Even Balance
Stiffness: 7/10
Composition(Frame): High Resilient Modulus Graphite + NANO FORTIFY TR
Composition(Shaft): High Resilient Modulus Graphite + PYROFIL + 6.8 SHAFT
Length: 675 mm
Weight & Grip Size: 4U G5
String tension : 4U ≤ 28lbs
Made in Taiwan
ราคา 5,390.
นักกีฬา Mohammad Ahsan

จุดเด่นของไม้คือ เป็นไม้ที่ร้างทั้งเกมส์บุกและรับได้ดีมาก โดยเฉพาะในเกมส์บุกที่มี นน ลูกบุกที่ค่อนข้างจะดีมากถ้าเทียบกันในไม้ประเภทนี้ นอกจากนี้ก็ให้ความนุ่มนวลในการตีไม่กระด้างมาก (จากเทคโนโลยี PYROFIL ที่ก้านและ FreeCore ที่ด้าม) ตีได้นานๆไม่ล้า การปรับตัวเมื่อใช้ใหม่ๆไม่ยาก ไม่นี้จึงเหมาะมากสำหรับการเล่นคู่ เพราะให้ทั้งความคล่องตัวและความหนักหน่วงในการบุก

3.3.2 BRAVE SWORD 12

Balance: Even Balance
Stiffness: 6/10
Composition(Frame): Ultra High Modulus Graphite + Nano Resin
Composition(Shaft): Ultra High Modulus Graphite + Nano Resin + 7.0 Shaft
Weight & Grip Size: 3,4U G5
String tension: 3U H ≤ 30lbs  V ≤ 28lbs, 4U H ≤ 28lbs  V ≤ 26lbs
ราคา 3,700.
นักกีฬา Lee Yong-dae

 

จุดเด่นของไม้คือ แม้จะไม่ใช่ไม้รุ่นใหม่แต่ไม้รุ่นนี้ก็มีสายการผลิตและความต้องการของคนตีแบดมาอย่างยาวนาน จนเรียกว่าไม้ในตำนานได้เลย ถึงแม้ไม่ได้มีเทคโนโลยีมากมายเหมือนไม้รุ่นใหม่ๆ แต่ก็ให้ประสิทธิภาพที่ไม่ได้ด้อยไปกว่าไม้รุ่นใหม่ๆเลย ให้ความคล่องตัวทั้งการเล่นรุกและรับได้อย่างสมดุล และเป็นอีกรุ่นที่ใครตีก็จะบอกว่าเข้ามือง่ายมาก ไม่นี้จึงเหมาะมากสำหรับการเล่นคู่ เพราะให้ทั้งความคล่องตัวในการเล่นที่ดีมาก

3.3.3 DRIVEX 9X

Balance: Even Balance
Stiffness: 7/10
Composition(Frame): High Resilience Modulus Graphite + Nano Fortify TR + HARD CORED TECHNOLOGY
Composition(Shaft): High Resilience Modulus Graphite + PYROFIL + 6.6 SHAFT
Weight & Grip Size: 3U, 4U G5
String tension : 3U  ≤ 29lbs, 4U ≤ 28lbs
ราคา 4,700
นักกีฬา Apriyani Rahayu

จุดเด่นของไม้คือ จุดเด่นของรุ่นนี้ก็จะเป็นคุณสมบัติของไม้ประเภทนี้อยู่แล้วคือให้ความคล่องตัวทั้งในเกมส์รับและรุก แต่ที่เด่นมากๆจากเทคโนโลยีที่ใส่มาเต็มๆในรุ่นนี้ไม้รุ่นนี้ให้ความนุ่มมือมากๆแทบจะไม่รู้สึกกระด้างเลย (จากเทคโนโลยี PYROFIL ที่ก้านและ FreeCore ที่ด้าม) และไม้ให้แรงส่งที่ดีมาก การตีในแต่ละช๊อททำให้รู้สึกไม่ต้องเค้นแรงมากๆ เซฟถึงหลังสบายๆ ตบก็มีน้ำหนักดีด้วย ไม้นี้จึงเหมาะมากสำหรับการเล่นคู่ และกับมือใหม่ ๆ ที่อยากจะขยับมาลองใช้ไม้ตัวท๊อปดู

คราวนี้ถ้าเราเข้าไปเลือกไม้แบดมินตันแล้ว เพื่อน ๆ ลองนำตัวเลือกต่าง ๆ ไปเลือกได้ง่าย ๆ ที่ร้านแบดมินตันทุกสาขาเลยค่ะ
อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม คลิก: https://www.jongnow.com/blogs

เฉิน หลง ประกาศแขวนแร็คเกตอย่างเป็นทางการ

เฉิน หลง อดีตนักแบดมินตัน เจ้าของเหรียญทองโอลิมปิกชายเดี่ยว ในปี 2016 ประกาศเลิกเล่นแบดมินตันอย่างเป็นทางการ ตามหลังเหล่าตำนานชายเดี่ยวในยุคเดียวกันอย่าง หลิน ตัน และ ลี ชองเหว่ย

.

เฉิน หลง เคยครองตำแหน่งมือ 1 ของโลกอยู่ 76 สัปดาห์ ในช่วง ปี 2014-2016 สามารถคว้าแชมป์เยาวชนโลกและเยาวชนเอเชีย ปี 2007 และได้แชมป์รุ่นทั่วไปในรายการแรกที่ฟิลิปปินส์ ปี 2009

.

จุดพีคสูงสุดของ เฉิน หลง คือการคว้าเหรียญทองโอลิมปิก ปี 2016 โดยสามารถเอาชนะ ลี ชองเหว่ย จากมาเลเซียไปได้ คว้าเหรียญทองแดงโอลิมปิกที่ลอนดอน ปี2012, คว้าเหรียญเงินโอลิมปิกที่โตเกียว คว้าแชมป์โลก 2 สมัยติดในปี 2014-2015 และสองเหรียญทองแดงในศึกแบดมินตันชิงแชมป์โลกปี 2017 และ 2018

.

คว้าเหรียญเงินชายเดี่ยวเอเชียนเกมส์ 2 สมัย แชมป์เอเชีย 1 สมัย ปี 2017, คว้าแชมป์ เฟรนช์ โอเพ่น ปี 2018-2019 และแชมป์ซูเปอร์ซีรี่ส์ และ ในระดับเวิลด์ทัวร์รวมทั้งสิ้น 22 รายการ แต่ในระยะหลังๆ เฉิน หลง มีอาการบาดเจ็บรบกวนมาตลอดหลังจากโอลิมปิกเกมส์ ที่ประเทศญี่ปุ่น และต้องประกาศเลิกเล่นไป

 

.

.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา: Siamsport

ไม้แบดหัวหนัก ช่วยให้ตบหนักขึ้น ตีแบดแรงขึ้นจริงหรือไม่?

อุปกรณ์แบดมินตันเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่จะทำให้นักกีฬาได้พัฒนาศักยภาพได้มากขึ้น หลากคนมักมีคำถามต้องใช้ไม้แบดแบบไหนดีที่จะช่วยทำให้เราตีแบดได้ดีขึ้น เร็วขึ้น และแม่นยำมากขึ้น

ทางจองนาวมีเทคนิคมาแนะนำก่อนที่เราจะไปคุยกับถึงเรื่องอุปกรณ์ที่สำคัญมาก ๆ นั่นคือ “ฝึกฝนพื้นฐานแบดมินตันอย่างถูกต้อง” จะช่วยแก้ปัญหาแรงส่งตีไม่ถึงหลังได้อย่างแน่นอน

เริ่มจากปัญหาการตีลูกเซฟไปให้ถึงหลังด้วยการส่งแรงจากลำตัว ไปที่หัวไหล่ ก่อนสะบัดข้อมือออกไป

1. ขณะตีลูกตัวคุณต้องอยู่หลังลูกขนไก่ 
วิธีการที่เราจะส่งแรงออกไปนั้น ตัวของเราจะต้องมองเห็นลูกแบดอยู่ด้านหน้าเป็นมุม 45 องศาจากด้านบน ซึ่งหลาย ๆ ครั้งที่มือใหม่หลายคนมักจะหงายหลังตีลูก นั้นเป็นเพราะว่า สเต็ปเท้าในการถีบตัวไปด้านหลัง เพื่อให้ลูกอยู่ด้านหน้านั้นยังไม่เร็วพอ อาจจะเสริมด้วยทักษะการสไลด์เท้า หรือสืบเท้าไปด้านหลัง ทำบ่อย ๆ ก็จะคล่องขึ้น
และถ้าฝึกฝนได้จะลดการบาดเจ็บการข้อเท้าพลิกได้ด้วย เพราะเมื่อไหร่ที่เราหงายหลังตีนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เราเสียสมดุลในการจัดระเบียบร่างกายด้วย
2. ไม่เปิดลำตัวไปทางด้านซ้าย 
ธรรมชาติของร่างกายเราถ้าหากตีลูกและวางร่างกายในแนวระนาบแบบไม่เปิดตัว ทำให้ร่างกายของเราไม่มีแรงที่มาจากลำตัวในการส่งลูก เราจะใช้ได้เพียงแรงที่หัวไหล่และแขนอย่างเดียว นั่นคือผลที่ทำให้การตีลูกโฟร์แฮนด์ไม่ถึงหลัง
ซึ่งนอกจากการเปิดลำตัวออกไปด้านข้างแล้ว จำเป็นจะต้องถอยหลังด้วยเท้าข้างที่ถนัดและถ่ายน้ำหนักลงไปที่เท้าหลังด้วย 1 ก้าว เพื่อที่จะส่งแรงจากลำตัวและหัวไหล่ไปทางด้านหน้า
3. ขณะที่กำลังตีลูกเหยียดแขนไม่สุด 
เมื่อเวลาที่เราเหยียดแขนในการตีไม่สุด นอกจากจะทำให้ลูกไม่แรงแล้ว จะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่หัวไหล่อีกด้วย
4. หลังจากสามารถแก้ปัญหาได้ทั้ง 3 ข้อแล้ว ควรเพิ่มพลังจากข้อมือเข้าไปด้วย
การ “ตีแบดมินตัน” ต่างจากการเล่นกีฬาที่ใช้ไม้แร็กเก็ตอย่างการเล่นเทนนิสตรงที่ “แบดมินตัน” จะใช้ข้อมือในการส่งลูกด้วย หลังจากที่เราเปิดลำตัว เหยียดแขนให้สุดเพื่อตีลูกเหนือศีรษะแล้ว ให้ทำการสะบัดข้อมือออกไปเพื่อช่วยในการส่งลูกอีกทาง ทั้งนี้ลูกที่จะมี Speed ที่ดีส่วนมากมักจะมาจากการตีลูกโดยใช้ข้อมือด้วยค่ะ
และให้จะรู้ว่า ถ้าข้อมือดี ๆ นั้น เราแทบจะไม่ต้องใช้พลังจากลำตัวมากขนาดนั้น (ในกรณีนี้แล้วแต่สรีระของผู้เล่นแต่ละคนด้วยนะคะ)
สรุปง่าย ๆ เพื่อการตีให้ถึงหลังก็คือ “เมื่อลูกลอยตกถึงตำแหน่งที่ต้องการตีส่งลูก ให้โน้มตัวไปข้างหน้า พร้อมถ่ายน้ำหนักลงเท้าข้างที่ก้าวไปข้างหน้า หลังจากนั้น ยื่นแขนให้เหยียดตรงจนไม้แร็กเกตถึงตำแหน่งตีส่งลูก พร้อมเหวี่ยงไม้แร็กเกตขึ้นไปกระทบกับลูกอย่างรวดเร็ว เพื่อส่งลูกให้ลอยโด่งตกไปยังฝ่ายตรงข้ามบริเวณเส้นด้านหลัง”
แล้วส่งลูกให้ถึงหลังไม่ใช้เพียงเป็นการป้องกันให้อีกฝ่ายหนึ่งเปิดเกมบุกได้ง่าย แต่ยังมีประโยชน์อื่น ๆ คือ
1. ใช้ตีลูกเพื่อเป็นการป้องกันการรุกของฝ่ายตรงข้าม
2. เพื่อดึงฝ่ายตรงข้ามออกให้ห่างจากตรงกลางสนาม
3. เพื่อทำให้คู่แข่งขันเสียจังหวะ
4. ใช้ตีลูกเพื่อสร้างโอกาสในการเปิดเกมรุก
5. เพื่อทำคะแนน
สำหรับใครที่สงสัยว่า การใช้ไม้หัวหนักนั้นจะช่วยเพิ่มแรงส่งได้จริงหรือไม่
คำตอบคือ มีส่วนช่วยในการเพิ่มแรงเหวี่ยงด้วยมวลน้ำหนักของหัวไม้ แต่สิ่งที่จะตามมาก็คือ เมื่อหัวไม้หนักขึ้นกล้ามเนื้อคุณอาจจะต้องเพิ่มความแข็งแรงเพื่อรองรับกับการใช้งานที่หนักขึ้นตามมา และอาจจะทำให้สปีดการตีลูกดาด หรือหน้าตาข่ายทำได้ไม่ดีเท่ากับไม้บาลานซ์หรือว่าไม้หัวเบานั่นเอง
ฉะนั้นอุปกรณ์แบดมินตัน อาจจะมีส่วนช่วย แต่นั่นอาจจะต้องเกิดจากการฝึกฝนที่ถูกต้อง ทำอย่างสม่ำเสมอ นอกจากที่จะทำให้เราพิชิตเป้าหมายในการออกกำลังกายของเราแล้ว ยังลดโอกาสความเสี่ยงที่จะเกิดอาการบาดเจ็บตามมาอีกด้วย

เทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยทำให้เราตบได้แรง !!

ขอขอบคุณ VICTOR ดูข้อมูลสินค้าเพิ่มเติม https://victorsport.co.th/
.
#badminton #จองสนามแบดมินตัน #Sporthub #จองนาว #Jongnow #จองสนามแบดมินตันออนไลน์ #สนามแบดกรุงเทพ #สนามแบดมินตัน #หาเพื่อนตีแบด #ตีแบด #ออกกำลังกาย #แอโรบิก #แอนแอโรบิก #สาเหตุข้อเท้าพลิก #สอนเบสิคแบดมินตัน #Footwork #จองสนามแบดมินตันกรุงเทพฯ
.
Tel : 0869851307

วิธีเพิ่มความแข็งแรง ออกกำลังกายให้ได้นานขึ้น

ตีแบดขนาดไหนถึงจุดที่เราจะเบิร์นได้ดีที่สุด และวิธีการสังเกตอัตราการเต้นของหัวใจแบบไหนที่เรียกว่า “พอดี” ของผู้เล่น
แบดมินตัน เป็นกีฬาที่ใช้การเคลื่อนไหว สมองและไหวพริบในการออกลูก และยิ่งมีแรลลี่มาก ๆ เท่าใด นั่นแปลว่าทั้งสมอง และกล้ามเนื้อต้องทำงานอย่างสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี
จุดนึงที่จะสามารถทำให้เราเกิดการแรลลี่ได้นาน ๆ (ในเกมส์ที่สูสีกัน และไม่ตีเสีย)
นั่นคือ
1. ความพร้อมของกล้ามเนื้อ
แบดมินตันใช้กล้ามเนื้อในทุกส่วน ไม่เพียงแต่ช่วงแขน ข้อมือ แต่รวมถึงขา และกล้ามเนื้อแกนกลางในทุกส่วน เพื่อที่จะบาลานซ์ร่างกายให้สามารถขยับไปได้อย่างคล่องแคล่ว
2. วัดอัตราการการเต้นของหัวใจ รู้ว่า จุดสูงสุดและต่ำสุดของเพื่อน ๆ ควรเป็นเท่าไหร่
” แรลลี่ไม่นาน เกมไม่เข้มข้น อัตราการเต้นของหัวใจก็ไม่สูง “
.
เริ่มเรียนรู้จากการหาชีพจรขณะที่เราพักหรือ Resting Heart Rate (RHR) 
ให้ใส่วัดก่อนนอนเลยค่ะ และตื่นมาปุ๊ป ก็ดูเลยว่าอัตรการเต้นของหัวใจคือเท่าไหร่ ?
” เพราะในขณะที่เรานอน ร่างกายเราขยับตัวน้อยที่สุด” หรือถ้าอยากวัดคร่าว ๆ ให้ลองวัดขณะที่นั่งนิ่ง ๆ และลองใช้นิ้วชี้และนิ้วกลาง จับชีพจรที่ข้อมือดูก็ได้เช่นกันค่ะ
เช่น ของแหวนวัดได้จากนาฬิกา จะเฉลี่ยอยู่ที่ 52 BPM (เก็บค่านี้ไว้ในใจก่อนนะคะ)
.
ขั้นถัดไป มาหาอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด Maximun Heart Rate จากสูตร
 Maximum Heart Rate = 220 – อายุ (เช่น อายุ 30 จะได้ 220-30 = 190)
ถ้าอยากออกกำลังกายให้ร่างกายเริ่มเบิร์นได้ดี แนะนำ 70-80 % (โซน 3 ) (สำหรับคนที่ไม่เคยเลยอาจจะเริ่มจากโซนที่ 2 ก่อนนะคะ)
จะต้องออกกำลังกายให้อยู่ในอัตราการเต้นที่ 70% * 190 = 133 ครั้ง/นาที
แต่ถ้าจะไปถึงระดับสูงขึ้นในระดับแข่งขัน ต้องฝึกให้หัวใจได้ทำงานหนักขึ้นเพื่อที่จะไม่เหนื่อยง่าย คำนวณตามนี้ได้เลย
อัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย =
(อัตราการเต้นของชีพจรสำรอง HRR * %ที่ออกกำลัง )+RHR
ลองแทนค่ากันค่ะ
อัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย ของแหวนตั้งเป้าหมายที่ 70% = 
(168 * 0.7 )+52
—- จะได้ 169.6 อัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย ของแหวนที่แหวนต้องฝึกฝนเพื่อให้หัวใจทนความเหนื่อยจากการแรลลี่นาน ๆ ได้ค่ะ
สูตรคำนวณหา อัตราการเต้นของชีพจรสำรอง HRR = MHR – RHR
HRR = 220-52 = 168 ครั้งต่อนาที
.
คราวนี้ใครมีนาฬิกาจับอัตราการเต้นหัวใจกันดูนะคะ ถ้าให้หัวใจของเราไปเต้นอยู่ในโซน 3 ได้นาน ๆ และค่อย ๆ เพิ่มเวลาให้นานขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะยิ่งทนทานในเกมลากแรลลี่ยาว ๆ ได้เท่านั้น แต่สำหรับคนที่เพิ่มเริ่มมาออกกำลังกายแนะนำให้เริ่มไปที่โซนที่ 2 ก่อน และถึงขยับความเข้มข้นขึ้นไปค่ะ